ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์ และ อรรนพ เรืองกัลปวงศ์

Keywords:

ปัจจัยผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผุ้สูงอายุผู้สูงอายุ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอาหารพร้อมทานแช่แข็ง ปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อและการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอาหารพร้อมทานแช่แข็ง ปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อกับการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและ3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประชาชนผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 6 รายซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มที่ 2 ประชาชนผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีการของครอนบาค เท่ากับ .943 แยกเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอาหารพร้อมทานแช่แข็ง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.848 ปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.866 และการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.829 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันและสหสัมพันธ์หลายตัวแปร โดยใช้สถิติสมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.5 อายุระหว่าง 66 – 70 ปีร้อยละ 46.50 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 36.50 อาชีพหลักสุดท้ายรับราชการร้อยละ 29.00 และรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001-15,000 บาทร้อยละ 32.50 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอาหารพร้อมทานแช่แข็งในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากในทุกด้านอันดับแรก คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด รองลงมา คือ ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์เป็นอันดับสุดท้ายปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อในภาพรวมอยู่ในระดับมาก อันดับแรก คือ ความคุ้มค่าของอาหารพร้อมทานแช่แข็งเมื่อเทียบกับราคา รองลงมา คือ มีความสะดวกในการบริโภค พกพาง่าย อันดับสุดท้ายอยู่ในระดับปานกลาง คือ เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในการบริโภคอาหารพร้อมทานแช่แข็งและการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากในทุกประเด็น อันดับแรก คือ การเลือกผลิตภัณฑ์และตราสินค้า รองลงมา คือ การเลือกผู้ขาย/ร้านค้าที่ซื้อ 2)ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุกับปัจจัยต่างๆ พบว่า การตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการจัดจำหน่าย รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนและอายุ โดยปัจจัยทั้ง5 ด้านอธิบายการผันแปรของการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 72.9

สมการในรูปคะแนนดิบ คือ   การตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร= 0.462 + 0.368 (ปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อ) + 0.318 (ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา)+ 0.114 (ส่วนประสมทางการตลาดด้านการจัดจำหน่าย) + 0.056(รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน) + 0.031 (อายุ)

คำสำคัญ : ปัจจัยผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผุ้สูงอายุผู้สูงอายุ

 

Abstract

The research study aimed: 1) to examine individual factors, the marketing mix of frozen food, and motivation for the elderly in Bangkok to buy frozen food products; 2) to investigate the relationship between the marketing mix of the frozen food and motivation of the elderly in Bangkok to purchase a product based on the response to buy the frozen food product, and 3) to identify factors that affect the response for the elderly in Bangkok to buy frozen food and ready-to-eat food products. The samples were 406 elderly aged 60 years and over in Bangkok. A questionnaire was distributed to collect data relating factors affecting response to buy frozen food products for the elderly in Bangkok. The degree of confident from the Cronbach data analysis is 0.943. Data analysis used percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and multivariate correlation by using stepwise multiple regressions.

Firstly, three main results revealed:

1) 53.5 percent of the respondents were females, 46.50 percent aged between 66-70 years, 36.50 percent held a bachelor’s degree, 29.00 percent retired from civil services, and  32.50 percent earned between 10,001-15,000 Baht per month for family income; whereas the marketing mix of the frozen foods and ready-to-eat products factor revealed at high levels in all aspects, and in particular aspects. They were promotion, price, and product, respectively.

2) Overall, factors concerning motivation to buy indicated high levels in all aspects. When considering each aspect, the first rank was value, followed by easy to eat, and convenient to carry, and lastly pride in consuming frozen food, which was ranked at the medium level.

3) Overall, factors regarding response to purchase food products were at high levels as well as in particular aspects, ranking from products and brands selection and distribution channels respectively.

Secondly, findings revealed that it was statistically significant at the level of .001 concerning the relationship between the response factors and the elderly to buy frozen food products. They were products, prices, product distribution, marketing promotion, and motivation.

Thirdly, factors that affected elderly people’s response to buy frozen food and ready-to-eat products in the Bangkok area were buying motivation, price, distribution channel, monthly family’s average income, and their age. It was observable that 72.9 percent of these five factors could be explained by the variation of the response of the elderly to buy frozen food and ready-to-eat products. 

The equation of raw data is, “Response to buy the Frozen Ready Meal Food for the Elderly in Bangkok Area” = 0.462 + 0.368 (motivation factor) + 0.318 (price) + 0.114 (distribution) + 0.056 (average family income per month) + 0.031 (age).

Keywords: factors, frozen ready-to-eat food, the elders, older

Downloads

How to Cite

และ อรรนพ เรืองกัลปวงศ์ ส. เ. (2015). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตอบสนองการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 9(2), 199–216. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29306

Issue

Section

Original Articles