รูปแบบการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Authors

  • วิโรจน์ เทพบุตร

Keywords:

รูปแบบการสื่อสาร, ความน่าเชื่อถือ, อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย, เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Abstract

บทคัดย่อ

  ความน่าเชื่อถือ หมายถึงความสามารถในการโน้มน้าวให้ผู้รับข้อความเชื่อในข้อความนั้นซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับช่องทางการสื่อสารที่ไร้พรมแดน เช่นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของที่ชัดเจน ความน่าเชื่อถือจึงเข้ามามีบทบาทเป็นตัวที่สื่อถึงความถูกต้อง และความไว้ใจได้ของข้อมูลที่นำเสนอบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับสถาบันการศึกษาแล้ว แนวคิดเรื่องความน่าเชื่อถือไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งจะเห็นได้จากการแต่งกายของนักศึกษาที่ต้องเรียบร้อย เพื่อเป็นการรักษาภาพพจน์ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันจากสายตาผู้พบเห็น หรือโดยการนำภาพถ่ายนักศึกษาไปจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นพับ แผ่นปลิว ภาพลงเว็บไซต์ การใช้ภาพที่นักศึกษาแต่งกายเรียบร้อยจะส่งผลให้เกิดความน่าเชื่อถือ

  หากกล่าวถึงเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาแล้ว ความน่าเชื่อถือนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษามีหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการค้นคว้าวิจัย รวมไปถึงแหล่งเผยแพร่ข่าวสารที่มีผู้คนรับข้อมูลเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องมีการบริหารจัดการความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์สถาบันการศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือตลอดเวลา

  การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาต่างๆ ของเว็บไซต์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏและศึกษาถึงองค์ประกอบของเว็บไซต์ เพื่อหารูปแบบของการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ จะทำให้เว็บไซต์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research Design) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 467 ชุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ท่าน

  ผลจากการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม คือ “การนำเสนออัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเว็บไซต์ เพื่อก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ตอกย้ำความน่าเชื่อถือให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ”รวมไปถึงการที่ข้อมูลนั้นตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดเรียงหมวดหมู่ของข้อมูลที่เข้าใจง่าย เป็นระเบียบ และมีการนำเสนอผลงานวิจัย บทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มอัตราการอ้างอิงผลงานทางวิชาการซึ่งสามารถช่วยเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ในการจัดอันดับเว็บไซต์สถาบันการศึกษา Webometrics ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการศึกษาอีกด้วย

คำสำคัญ: รูปแบบการสื่อสาร ความน่าเชื่อถือ  อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เครือข่ายอินเตอร์เน็ต


Abstract

  Credibility is defined as the ability in influencing or persuading the message receiver to believe the message received. Credibility is one of important factors for a globalized communication channel such as the Internet, by which there is no clear owner. Therefore, credibility acts as the main aspect that signals correctness and reliability of information presented on the Internet. For educational institutes, the concept of credibility is not a new entity, as it can be seen by people in orderly student uniforms to maintain the institute’s image and to fortify credibility of the institute. This also includes using students’ photos in various communication media such as brochures, leaflets, or on websites. The orderly student uniform induces credibility towards the institute. Regarding an educational institute’s website, credibility is significantly important because the institute’s website has its primary function as an academic resource for research studies including distributing up-to-date information to a large audience. Therefore, an educational institute’s website always needs to maintain itself for excellent credibility.

  This research study: 1) investigated the current state of problems in Rajabhat Universities’ websites, and 2) examined the credibility-enhancing communication framework for Rajabhat Universities’ websites. This can then be applied to current Rajabhat Universities’ websites so that the credibility would be enhanced. This study used mixed-method research design including quantitative research and qualitative research. For quantitative data, a set of questionnaires was distributed to 467 respondents, whereas an in-depth interview was conducted to gain qualitative data.  Eight professionals and experts in related fields participated in the interview. 

  The results revealed the appropriate communication framework was the presentation of the unique characteristics of a particular Rajabhat University on the website to create credibility and to enforce existing credibility of the university itself.  This included: 1) providing the correct information to the right target group, 2) making well-organized and understandable information, and 3) publishing academic articles and research papers in English. This could increase the referencing rate and would result in an increase of Webometrics ranking contributing to greater credibility of that particular institution.

Keywords: communication framework, Credibility, Identity of University, Internet

Downloads

How to Cite

เทพบุตร ว. (2015). รูปแบบการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 9(2), 187–198. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29304

Issue

Section

Original Articles