การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • สำราญ สิริภคมงคล, ศิริเดช สุชีวะ และ โชติกา ภาษีผล

Keywords:

ความสุขในการเรียน, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนามาตรวัดความสุขสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้านความเที่ยง และความตรง และ 4) เพื่อสร้างค่าปกติวิสัยของความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ของประเทศไทย เกณฑ์ปกติของนักเรียนมัธยมปลาย (มัธยมศึกษาปี่ที่ 4, 5 และ 6)  จำแนกตามเพศ (เพศชาย, หญิง) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2,400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบ 3 ขั้นตอน (Three-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือมาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Window, โปรแกรม Microsoft Office Excel และโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) มาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยโครงสร้าง 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านคุณภาพของครูผู้สอน องค์ประกอบด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน องค์ประกอบด้านความคิดเชิงบวก องค์ประกอบด้านความเชื่อมั่นในตนเอง และองค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมีน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .442 - .881 2) มาตรวัดความสุขในการเรียนประกอบด้วยจำนวน 31 ตัวชี้วัด 128 ข้อคำถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.8 -1.0 ค่า ความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.954 3) ผลการตรวจสอบโมเดลของมาตรวัดความสุขในการเรียนด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติไคสแควร์เท่ากับ 234.27 (df = 203 p = .06536, GFI= .988, AGFI = .970, RMR = .0255 และ RMSEA= .011) 4) นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพศหญิงมีคะแนนความสุขในการเรียนมากที่สุด

คำสำคัญ : ความสุขในการเรียน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

 

Abstract

The objectives of this research study were: 1) to investigate factors and develop indicators of learning happiness scale for high school students, 2) to develop the scale of learning happiness for high school students, 3) to examine the quality of the learning happiness scale regarding construct validity and validity, and 4) to construct the norm of learning happiness scale for high school students in Thailand. The participants were 2,400 high-school students from schools under the Office of the Basic Education Commission. The instrument for data collection was the learning happiness scale. Data analysis employed the SPSS for Windows, Microsoft Office Excel, and the LISREL program. Four findings revealed:  1) the learning happiness scale consisted of 5 dimensions including teacher quality, relationship with friends, positive thinking, self confidence, including learning and teaching participation with scores between 0.442 -0.881; 2) the learning happiness scale consisted of 31 indicators and 128 items with the IOC between 0.8 -1.0 and alpha coefficient at 0.954; 3) the results of model confirmatory factor analysis showed correspondence with empirical data; this model was identified by 2  = 234.27 (df = 203 p = .06536, GFI= .988, AGFI = .970, RMR = .0255and RMSEA= .011); and finally 4) the results indicated the female students in Grade 10  had the highest level of learning happiness.

Keywords :  Learning happiness high school students

Downloads

How to Cite

ศิริเดช สุชีวะ และ โชติกา ภาษีผล ส. ส. (2015). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 9(2), 51–66. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29296

Issue

Section

Original Articles