การพัฒนากิจกรรมการประเมินทางเลือกในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
Keywords:
การประเมินทางเลือก, การประเมินการปฏิบัติ, การประเมินความสามารถ, การประเมินผลตามสภาพจริงAbstract
ทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการประเมินทางเลือกในการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศให้กับคณาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษในสาขาวิชาภาษา คณะศิลปศาสตร์ 2) คณาจารย์ที่ได้รับการอบรมสามารถออกแบบกิจกรรมการประเมินทางเลือกพร้อมทั้งเกณฑ์การประเมิน สำหรับรายวิชาภาษาอังกฤษ ในหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากลได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ในคณะศิลปศาสตร์ ศูนย์สุพรรณบุรี ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 10 คน และรายวิชาภาษาอังกฤษในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล จำนวน 35 วิชา รวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการประเมินทางเลือก วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าดัชนีความเหมาะสม (IOC) ของกิจกรรมการประเมินทางเลือกกับเกณฑ์การประเมิน และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ได้กิจกรรมการประเมินทางเลือกทั้งหมด 143 กิจกรรมพร้อมเกณฑ์การประเมิน แบ่งเป็น กิจกรรมการประเมินที่เน้นการปฏิบัติ 93 กิจกรรมและ กิจกรรมการประเมินตามสภาพจริง 50 กิจกรรม ค่าดัชนีความเหมาะสมของกิจกรรมการประเมินทางเลือกกับเกณฑ์การประเมินมีค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
คำสำคัญ:การประเมินทางเลือก การประเมินการปฏิบัติ การประเมินความสามารถ การประเมินผลตามสภาพจริง
Abstract
The objectives of this research study were 1) to train the English teachers in Faculty of Liberal Arts on an alternative assessment in teaching English as Foreign Language and 2) to coach the trainees in designing alternative assessment activities in English Courses, Bachelor of Arts Program in English for International Communication. The participants were 12 English teachers at the Suphanburi campus, randomized using a purposive technique. Also, 35 English subjects for Bachelor of Arts Program in English for International Communication were selected. Two evaluation forms were used for data collection. One examined participants’ satisfaction; the other evaluated alternative assessment activities. Data analysis employed basic statistics: mean, percentage, and Index of Congruence (IOC), including descriptive statistics. Findings indicated: 1) the participants revealed high satisfaction on the training and 2) the development of 143 alternative assessment activities consisted of 93 performance assessment activities and 50 authentic assessment activities with relevant scoring rubrics. The Index of Congruence of the activities and the relevant scoring rubrics were 0.67 to 1.00, higher than the specified criteria.
Keywords: alternative assessment, performance assessment, authentic assessment, assessment