ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคอาหารแช่แข็งประเภทอาหารสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
การตัดสินใจบริโภค, อาหารแช่แข็ง, อาหารสำเร็จรูป, ร้านสะดวกซื้อAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคอาหารแช่แข็ง ประเภทอาหารสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็ง จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400คน โดยใช้แบบสอบถามจากผลการศึกษาพบว่า
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 51.0) มีอายุ 20–29 ปี (ร้อยละ 50.0) สถานภาพโสด (ร้อยละ 55.0) มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 60.0) ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000–15,000 บาท (ร้อยละ 26.0) และประกอบอาชีพพนักงานเอกชน (ร้อยละ58.8)
2. พฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคอาหารแช่แข็ง ประเภทอาหารสำเร็จรูป ในร้านสะดวกซื้อ พบว่า ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ในการบริโภคนานๆ ครั้ง (ร้อยละ 50.3) มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งประมาณ 60–120 บาท (ร้อยละ 30.0) เหตุผลในการเลือกซื้อ คือ หาซื้อได้ง่าย (ร้อยละ 36.2) รองลงมา คือ สะดวกในการรับประทาน (ร้อยละ 28.6) ตัดสินใจซื้ออาหารด้วยตัวเอง (ร้อยละ 24.0) ซึ่งซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งในโอกาสรีบเร่ง (ร้อยละ 45.0) อาหารสำเร็จรูปแช่แข็งยี่ห้อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ซีพี (ร้อยละ 40.5) รองลงมาอีซี่โก (ร้อยละ 23.8) เอส แอนด์ พี (ร้อยละ 16.3) พรานทะเล (ร้อยละ 10.5) และ สุรพลฟู้ดส์ (ร้อยละ 9.0)
3. ส่วนปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคอาหารแช่แข็ง ประเภทอาหารสำเร็จรูป ในร้านสะดวกซื้อ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 ด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้านความสะอาด (ค่าเฉลี่ย 4.05) และนำเข้าเตาไมโครเวฟได้ (ค่าเฉลี่ย 4.05) ด้านราคา เหมาะสมกับความสะดวกสบาย (ค่าเฉลี่ย 4.00) ด้านการจัดจำหน่าย การจัดวางผลิตภัณฑ์เป็นหมวดหมู่ (ค่าเฉลี่ย 3.84) ด้านการส่งเสริมการตลาด การแจกเอกสารแนะนำผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 3.82)
4. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคอาหารแช่แข็งประเภทสำเร็จรูป
การศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบลักษณะความต้องการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดของอาหาร ความหลากหลายของชนิดอาหาร ราคาที่เหมาะสม และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
คำสำคัญ :การตัดสินใจบริโภค อาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป ร้านสะดวกซื้อ
Abstract
This study aimed to investigate the factors affecting consumer choice of quick-frozen meals offered for sale in selected convenience stores around Bangkok. Consumer behavior was sampled by survey questionnaire method with 400 consumers of quick-frozen meals.
The study included:
1.Personal information: most consumers were female (51%), aged between 20-29 years (50%), single (55%), private-sector workers (59%), had finished their bachelor degree (60%), and had an average monthly income in the range 10,000-15,000 Baht (26%).
2.Consumer behavior: 50% responded that they consumed quick-frozen meals infrequently, and 30% spent 60-120 Baht per purchase. They had several reasons for buying quick-frozen meals--availability (36%), ease of consumption (29%), independent buying decision (24%), and time pressures (45%).
3.The most popular brands were CP (41%), Ezy-Go (23%), S&P (16%), Prantalay (11%), and Surapol Foods (9%).
4.Marketing mix factors were ranked highly (average 3.77/5.00) as affecting the consumption of instant frozen food from convenience stores. As for product choice, the majority of the informants made their choice based on hygiene (mean 4.05), and the ability to microwave the package (mean 4.05). In terms of price, the informants were willing to pay in exchange for the convenience (mean 4.00). In terms of distribution, the informants were more willing to buy quick-frozen meals if they were arranged and classified into categories (mean 3.84). As for promotion, the product brochure was ranked first (mean 3.82).
5.Personal factors--age, marital status, education, income, and occupation--were related to consumer choice of quick-frozen meals.
This study revealed that when selecting their quick-frozen meals, most consumers place an emphasis on hygiene, variety, and perceived value for money.
Keywords: consumer decision-making, choice, quick-frozen meals, convenience stores