กลยุทธ์การพัฒนาการบริการให้คำปรึกษาด้านดนตรีเพื่อการสร้างแบรนด์และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจเพลง
Keywords:
ดนตรีเพื่อการสร้างแบรนด์, ดนตรีกับกิจกรรมการตลาด, ธุรกิจเพลงAbstract
ทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant person) จำนวน 15 ท่านและผู้บริหารแบรนด์สินค้าและบริการชั้นนำ จำนวน 400 แบรนด์ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) เพื่อค้นหาตัวแบบกลยุทธ์เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการบริการให้คำปรึกษาด้านดนตรีเพื่อการสร้างแบรนด์และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจเพลง ผลจากการวิจัยพบว่าแบรนด์สินค้าและบริการชั้นนำต่างมีความเชื่อว่าดนตรีสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ของตน ตลอดจนดนตรีจะมีความสำคัญต่อแบรนด์ มากขึ้นในอนาคต โดยสามารถนำปัจจัยความต้องการและความคาดหวังที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่ปรึกษาด้านดนตรีเพื่อการสร้างแบรนด์ที่สำคัญจากการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ นำมาสรุปเป็นกลยุทธ์การพัฒนาการบริการให้คำปรึกษาด้านดนตรีเพื่อการสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนชื่อ “I-M-P-R-E-S-S Model” ซึ่งกลยุทธ์นี้ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ย่อย คือ 1. ความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่น 2. การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้ารายสำคัญ 3. การสร้างผลงานอย่างน่าเชื่อถือ 4. การวิจัยและพัฒนาด้านดนตรีและธุรกิจ 5. การบริการที่มีความโปร่งใสอย่างมืออาชีพ 6. การให้บริการที่น่าเชื่อถือจากทีมดูแลลูกค้า 7. ความรวดเร็วในการให้บริการ
คำสำคัญ: ดนตรีเพื่อการสร้างแบรนด์ ดนตรีกับกิจกรรมการตลาด ธุรกิจเพลง
Abstract
The combination of qualitative and quantitative researches is chosen as a methodology of this study by way of collecting data from representative groups: 15 key informant persons and 400 executives of leading brands. The exploratory factor analysis is used as a referred statistic for finding out strategic models in order to determine music branding consulting service strategy development for music business competitiveness. The research outcome found that the executives of leading brands believe that the music can help strength to their own brands and will be increasingly important in the future. The most required factors and expectation which influence decision making in choosing music branding consulting service is the ability to work with service minded attitude, creative thinking, sincerity and honesty to customers, knowledge and understanding of music, business and marketing as well as the ability to work as presented by commitment. The research outcome of exploratory factor analysis couple with quality data analysis brings towards strategic models for music branding consulting service development in sustainable manner which is named as “I-M-P-R-E-S-S Model” comprising of 7 sub-strategies: 1) Imaginative solution; 2) Relationship management; 3) Result-base portfolio; 4 Music and business research & development; 5) Professional ethics & morals; 6) Reliable service team; and 7) Speed.
Key words: Music Branding, Music and Marketing Activities, Music Business