การศึกษาการใช้หลักสูตรสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (อิสลามศึกษา) ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 2

Authors

  • สุคนธ์ ไกรพรม, และผดุง พรมมูล

Keywords:

การศึกษา, หลักสูตรสาระสังคมศึกษา, ศาสนาและวัฒนธรรมสาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (อิสลามศึกษา), โรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 2, วิทยากรสอนศาสนาอิสลาม

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้หลักสูตรสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (อิสลามศึกษา) ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้หลักสูตรสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 1 ศาสนาศีลธรรม จริยธรรม (อิสลามศึกษา) ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 2 จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษา กลุ่มประชากรในการศึกษา จำนวน 65 คน ประกอบด้วยวิทยากรสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 60 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ค่าความเชื่อมั่น 0.9601 และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เพื่อแสดงให้เห็นความสอดคล้องหรือความแตกต่างของผู้บริหารสถานศึกษากับวิทยากรสอนศาสนาอิสลาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีการดำเนินการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา  ในแต่ละด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดรองลงมาคือ การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอน โดยด้านสื่อการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ซึ่งผลจากการศึกษา พบว่า วิทยากรสอนศาสนาอิสลามที่มีเพศต่างกัน มีอายุต่างกัน มีประสบการณ์  การทำงานต่างกัน มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการใช้หลักสูตร ไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ การศึกษา, หลักสูตรสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (อิสลามศึกษา), โรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 2, วิทยากรสอนศาสนาอิสลาม

 

Abstract

  The objectives of the study of implementing Social Studies Curriculum, Religion and Culture Substance one: Religions, Morals, Ethics (Islamic Studies) of Municipality Schools, Educational Area two were to study and compare the implementing of the  Social Studies Curriculum, Religion and Culture, Substanceone: Religions, Morals, Ethics (Islamic Studies) of Municipality Schools, Educational Area two according to sex, age, working experience and educational level. The participants were 65 people which were  60  Islamic Religious Teachers, the data were collected by two questionnaires with the reliability of  0.9601 and 5  school administrators, the data were collected by using the interview form to compare  the similarity and the differences between school administrators and Islamic religious teachers. The data was analyzed by using arithmetic mean and standard deviation. The results of the study found that in overall, the curriculum implementation was at a high level. It also found that, in term of curriculum and implementing aspect was the highest average. In the aspect of teaching management and teaching media were at the lowest level.In addition, it found that Islamic Religious Teachers with differences sexes, ages, working experiences, educational levels were usingthe curriculum statistical significance with no differences.

 

Keywords: Education, Social Studies, Religion and Culture Substance one: Religions, Morals, Ethics (Islamic Studies), Municipality Schools, Educational Area two, Islamic Religious Teachers

Downloads

How to Cite

และผดุง พรมมูล ส. ไ. (2015). การศึกษาการใช้หลักสูตรสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (อิสลามศึกษา) ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 2. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 9(3), 81–92. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29256

Issue

Section

Original Articles