ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำฝายชะลอน้ำ กรณีตัวอย่าง ชุมชนบ้านกิ่วท่ากลาง-ท่าใต้ ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
Keywords:
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ฝายชะลอน้ำ, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้นำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำฝายชะลอน้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน โดยยกกรณีตัวอย่างของชุมชนที่มีผลการดำเนินงานเป็นผลสำเร็จ คือ ชุมชนบ้านกิ่วท่ากลาง-ท่าใต้ ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำฝายชะลอน้ำ โดยการใช้เศษไม้ปักถี่ๆและใช้เศษไม้ใบ เป็นตัวฝาย เพื่อชะลอการไหลของน้ำและกักเก็บตะกอนดินทราย รวมถึงการใช้กล่องตาข่ายเหล็กที่บรรจุหินเป็นเครื่องมือในการสร้างฝาย ซึ่งเพิ่มความมั่นคงด้วยการยึดไม้ และคานไม้ไว้บริเวณฝายหินตาข่ายเหล็ก และได้นำหลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมคือ การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อื่นควบคู่กันไป โดยมีการเชื่อมโยงกับการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และคุณภาพชีวิตอย่างกลมกลืน ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศควบคู่กันไป ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ในลักษณะของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิม ผสานเข้ากับระบบบริหารจัดการ และการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบใหม่ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุง พัฒนาอย่างเหมาะสมคือ การประชุมและการทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อชี้แจงและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง และทำข้อตกลงร่วมกัน โดยมีการกำหนดเครื่องมือในการสร้างความสมดุลระหว่างการจัดระเบียบสังคม ในการเคารพและการปฏิบัติตามกฎกติกาของสังคม และกฎกติกาของธรรมชาติได้เป็นอย่างดีผ่านคณะกรรมการหมู่บ้าน มีการร่างระเบียบของชุมชน การปิดป่าและการจัดโซนนิ่งป่ากิจกรรมในการดูแลรักษาป่า การสร้างเครือข่ายและการศึกษาดูงาน ส่งผลให้เกิดความสมดุลและประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม
คำสำคัญ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ฝายชะลอน้ำ, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วม
Abstract
This article presents local knowledge for the preparation of check dams, a method for sustainable management of natural resources of the people of Ban-Kiewthaklang–Thatai of Maetha District in Lampang province. These people employ local knowledge in constructing check dams. Wood chips, dried leaves, and steel mesh boxes filled with rocks are used as tools to build the dam to slow the water flow. Moreover, constructing check dams is also related to economic development, social harmony, and maintaining the balance of the environment. The conservation of natural resources should be done collaboratively. Knowledge and existing local wisdoms should be integrated into the management system and then the knowledge should be further developed appropriately. In addition, having village meetings is a good direction to clarify and resolve current issues, to set up the rules in the community, and also to create balance between community regulations and the rules of nature.
Keywords : local knowledge, check dam, participation of natural resource management