การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิชาสุขภาพผู้บริโภคโดยใช้สมองเป็นฐานของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา
Keywords:
รูปแบบการสอน, การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิชาสุขภาพผู้บริโภคโดยใช้สมองเป็นฐานของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนวิชาสุขภาพผู้บริโภคโดยใช้สมองเป็นฐานของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขภาพผู้บริโภค เจตคติต่อวิชาสุขภาพผู้บริโภค และความพึงพอใจต่อการเรียนจากรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิชาสุขภาพผู้บริโภคโดยใช้สมองเป็นฐาน และเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาสุขภาพผู้บริโภค แบบเลือกตอบ แบบสอบถามเจตคติต่อวิชาสุขภาพผู้บริโภค และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอน ทั้งแบบสอบถามเจตคติและแบบสอบถามความพึงพอใจมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิชาสุขภาพผู้บริโภคโดยใช้สมองเป็นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการสอน และการวัดและประเมินผล และขั้นตอนของรูปแบบการสอน มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นผ่อนคลาย (Relaxation) 2) ขั้นกระตุ้นความรู้เดิม (Activation Prior Knowledge) 3) ขั้นใช้ผังมโนทัศน์(Concept Mapping) 4) ขั้นถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Leaning) 5) ขั้นบริหารสมอง (Operation to BrainGym) 6) ขั้นคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) และจัดกระบวนการสอนใน 8 แผนการสอน นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการสอน มีเจตคติและมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนต่อวิชาสุขภาพผู้บริโภคในระดับมาก
คำสำคัญ : รูปแบบการสอน การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
Abstract
The current research was aimed at 1) developing an instructional model to enhance brain-based learning of consumer health among students at the Institute of Physical Education and 2) investigating the outcomes of brain-based instruction among students according to the instructional model of their learning achievement, attitude towards consumer health, and satisfaction on learning through this developed model. The sample in the present experiment included 30 students at the Institute of Physical Education at Angthong campus. The instructional model was used as a research tool to promote brain-based learning of consumer health. The research instruments included an achievement test on consumer health using multiple choice items and a 5-point Likert scale questionnaire collecting data about students’ attitude towards consumer health and their satisfaction on the instructional model.
Results suggested that the instructional model to enhance brain-based learning of consumer heath consisted of five components: principles, objectives, content, instruction process, measurement and evaluation. There are six steps in the instructional model, including: 1) Relaxation, 2) Activation Prior Knowledge, 3) Concept Mapping, 4) Transfer of Leaning, 5) Operation to Brain Gym, and 6) Reflective Thinking. The instruction process covered eight instructional plans. Students gained a higher learning achievement than at pre-experiment stage, developed a highly positive attitude towards consumer health, and had the highest level of satisfaction regarding the instructional model.
Keywords: instructional model, brain-based learning