โครงสร้างโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS กับการมีส่วนร่วมของพลเมือง

Authors

  • ภูชิตต์ ภูริปาณิก

Keywords:

สื่อสาธารณะ, การมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง, นโยบายสาธารณะ

Abstract

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยเรื่อง “โครงสร้างโทรทัศน์สาธารณะThai PBS กับการมีส่วนร่วมของพลเมือง” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research) โดยใช้แนวคิด Historical approach เป็นหลักในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล  เพื่อวิเคราะห์ถึงบริบทของสังคมไทย  โครงสร้างการดำเนินงานของโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS  ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของพลเมือง รวมถึงรูปแบบการมีส่วนร่วมของพลเมืองที่มีต่อโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS โดยมีกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาการทางด้านสื่อสารมวลชน กลุ่มผู้บริหารสถานีโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS กลุ่มองค์กรภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  กลุ่มสมาชิกสภาผู้ชมผู้ฟังโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มภาคประชาสังคมระดับชนชั้นนำ (Elite civil society) ซึ่งมีส่วนร่วมในการผลักดันองค์กร มีบทบาทสูงกับการมีส่วนร่วมในทุกมิติของทางสถานี เช่น การกำหนดทิศทางและนโยบายขององค์การ รูปแบบการนำเสนอผ่านทางผัง สัดส่วน และเนื้อหาของรายการ  โดยพลเมืองในระดับปัจเจกบุคคลมีส่วนร่วมแต่เพียงในระดับผู้รับสารและผู้ผลิตเท่านั้น จึงถือได้ว่าภาคประชาสังคมระดับชนชั้นนำ (Elite civil society) คือตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใหม่ที่เข้ามาสถาปนาตนเองเป็นอุดมการณ์หลักของสื่อสาธารณะในประเทศไทยแทนที่กลุ่มผลประโยชน์เดิม คือรัฐกับทุนที่ฝังรากลึกมายาวนาน

คำสำคัญ สื่อสาธารณะ, การมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง,  นโยบายสาธารณะ

 

Abstract

This qualitative research was based on a historical approach to gathering and analyzing data on Thai social context and the operational structure of Thai PBS (public television), including the form of participation of citizens with regards to Thai PBS. The sample groups were scholars, the public media policy stakeholders, the Thai PBS audience, non-governmental organizations, national legislature, and the audience member council representatives of Thai PBS.

The study showed that the elite group ofcivil society who participated in driving the organization played an important role in all dimensions of the television station such as determining the direction and policies of the organization, deciding on the form and presentation of the programming plans, and analyzing the ratio and scheme of programmers. Individuals only participated as the audience and the producers. It can be assumed that theelite civil societygroup was a representative of new interest groups who established themselves as the main public media ideal in Thailand, instead of the former interest groups, government, and capitalists which had been established for a long time. 

Keyword: public media, citizen participation, public polities

Downloads

How to Cite

ภูริปาณิก ภ. (2015). โครงสร้างโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS กับการมีส่วนร่วมของพลเมือง. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 10(1), 97–112. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29233

Issue

Section

Original Articles