การศึกษาระดับความเครียดและประสิทธิภาพการทำงานของครูการศึกษาพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
ความเครียด, ประสิทธิภาพการทำงาน, ครูการศึกษาพิเศษAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)เพื่อศึกษาระดับความเครียดและประสิทธิภาพการทำงานของครูการศึกษาพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร (2)เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของครูการศึกษาพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีระดับความเครียด แตกต่างกัน (3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดและประสิทธิภาพการทำงานของการศึกษาพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูการศึกษาพิเศษ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความเครียด ที่แสดงออกมาทางร่างกายหรือจิตใจ และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของครูการศึกษาพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย (x̅ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติการทดสอบความแตกต่าง โดยใช้ one-way ANOVA และใช้สถิติ multiple comparison test ในการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีการหาค่า LSD วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ความเครียดของครูการศึกษาพิเศษ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง
2.ครูการศึกษาพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร มีความเครียดที่แสดงออกมาทางร่างกายหรือจิตใจระดับมาก ปานกลาง และน้อยมีประสิทธิภาพในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ครูการศึกษาพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีความเครียดในการปฏิบัติงานระดับมาก ปานกลาง และน้อยมีประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ในการทดสอบ พบว่า ความเครียดที่แสดงออกมาทางร่างกายหรือจิตใจมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกและสัมพันธ์กันในระดับต่ำมาก และพบว่าความเครียดในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงาน (p>.05)
คำสำคัญ : ความเครียด ประสิทธิภาพการทำงาน ครูการศึกษาพิเศษ
Abstract
In this thesis, the researcher investigated (1) the stress levels and work efficiency of selected special education teachers in the Bangkok metropolitan area. Furthermore, the researcher compares (2) the work efficiency of the teachers under study with differences in stress levels. Finally, the researcher also studies (3) the relationship between stress levels and the work efficiency of these teachers.
The sample population consisted of 160 special education teachers employed in the Bangkok metropolitan area. The instruments of research consisted of three questionnaires eliciting data in respect to stress levels based on physical and psychological manifestations of stress; a questionnaire concerning stress levels; and a questionnaire regarding work efficiency.
Using techniques of descriptive statistics, data were analyzed using the techniques of percentage (%), frequency (f), mean ( ), and standard deviation (SD). Hypotheses were tested using the one-way analysis of variance (ANOVA) technique, the least significant difference (LSD) multiple comparison test, and Pearson’s product moment correlation coefficient method.
Findings were as follows:
1. The overall stress levels of teachers of special education in the Bangkok metropolitan area were at a moderate level.
2. In respect to stress levels based on physical and psychological manifestations of stress, the teachers under study who evinced stress at high, moderate, and low levels were found to display corresponding differences in work efficiency at significance level of .05.
3. The teachers under study who displayed stress in the course of work performance at high, moderate and low levels were found to display corresponding differences in work efficiency at a significance level of .05.
4. In studying the relationships between stress levels and work efficiency, the researcher determined that the physical or psychological manifestations of stress were positively correlated at a very low level, with work efficiency at a statistically significant level of .05. It was also found that stress accompanying work performance bore no correlation with work efficiency.
Keywords : stress levels, work performance, special education teachers