การเปรียบเทียบการเรียนรู้อย่างเป็นระบบกับการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรมของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ที่มีประสบการณ์ต่างกัน
Keywords:
การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ, การเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม, นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์, ประสบการณ์Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมุ่งศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ(SDLC-based Learning)กับการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม (Imagineering Learning) ของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งมีประสบการณ์ต่างกันในด้านการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2/2555 จำนวน 110 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling)ซึ่งมีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ นักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ จำนวน 53 คน และนักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ จำนวน 57 คน ข้อมูลของงานวิจัยนี้ได้จากแบบสอบถามเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบกับการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรมของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ จำนวน 33 ข้อ โดยอาศัยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์และนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีผลรวมของการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรมอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบกับการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์มีผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบกับการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยมีค่าเฉลี่ยผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบสูงกว่าผลการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์กับนักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ พบว่า นักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ต่างกันมีผลการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์สูงกว่านักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์กับนักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์กับนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบสูงกว่านักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์การทำโครงงานคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ : การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ การเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ประสบการณ์
Abstract
This is a quantitative study which compared two different ways of learning, SDLC-based learning and Imagineering learning, used by the undergraduate students majoring in computer, at Suan Dusit Rajabhat University, with different experiences in computer projects.The study samples of 110 were selected with the cluster-sampling method from the whole population of the third to fourth Information Technology students at Suan Dusit Rajabhat University who studied in Semester 2 Academic Year 2012 and had different experiences in working on computer projects. These samples were divided into two groups, one of 53 students without the experiences and the other of 57 students with the experiences. The data were collected from the samples’ responses to the questionnaires with 33 items of information related to SDLC-based learning and Imagineering learning. The statistics used for data analysis in this research consisted of mean, standard deviation, and t-test.
The research study revealed the following findings: Firstly, the overall result of learning by the experienced students and the inexperienced students through SDLC-based learning and Imagineering learning was in a high degree. Secondly, the computer students showed a statistically significant difference in learning through SDLC-based learning and through Imagineering learning, at the rate of .05. Namely, the students’ average learning rate through SDLC-based learning was higher than their learning through Imagineering learning. Thirdly, the learning results between the experienced students and the inexperienced students were found to be statistically significantly different, at the rate of .05, with the experienced students’ average learning rate higher than the inexperienced students’. Fourthly, in terms of Imagineering learning, the results of learning by the experienced students and the inexperienced were found to be different, but with no statistical significance. Fifthly, through SDLC-based learning, the experienced students and the inexperienced students’ learning results were found to be statistically significantly different at the rate of .05, with the experienced students’ average learning rate higher than the inexperienced students’.
Keywords : SDLC-based learning, Imagineering learning, Computer students, Experience(s)