การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่เรียนโดยใช้แบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน
Keywords:
กิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน, ความรู้คำศัพท์, ความคงทนในการจำคำศัพท์, ความคิดเห็นของนักเรียนAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คำศัพท์ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังจากเรียนด้วยแบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน และ 4) เพื่อศึกษาความความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 37 คน ทำการทดลองโดยให้นักเรียนเรียนแบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่านจำนวน 10 บทเรียน ใช้เวลาทดลอง 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบสำรวจความรู้ความหมายคำศัพท์ แบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดระดับความรู้คำศัพท์ก่อนและหลังการทดลอง และวัดความคงทนในการจำคำศัพท์ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน มีค่าเท่ากับ 75.86/ 75.13 ซึ่งเท่ากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียน หลังการใช้แบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่านสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความคงทนในการจำความหมายคำศัพท์ หลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ ร่วมกับการอ่านทันที และหลังการเรียนผ่านไปแล้ว 14 วัน ไม่แตกต่างกัน
4. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่านอยู่ในระดับดีมาก
คำสำคัญ: กิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน ความรู้คำศัพท์ ความคงทนในการจำคำศัพท์ ความคิดเห็นของนักเรียน
Abstract
The purposes of this research were 1) todevelop and test the efficiency of reading plus vocabulary enhancement activities; 2)to compare the students’ achievement before and after using the reading plus vocabulary enhancement activities; 3) to compare the students’ retention after using the reading plus vocabulary enhancement activities and 14 days after having completed them; and 4) to survey the students’ opinions toward the reading plus vocabulary enhancement activities. The subjects consisted of 37 Prathomsuksa 5 students of the Elementary Demonstration School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University.They were required to use 10 units reading plus vocabulary enhancement activities for 24 hours. The instruments used for this experiment were the reading plus vocabulary enhancement activities, a vocabulary achievement test as pretest and posttest, a test on the retention, and a questionnaire on opinions towards the reading plus vocabulary enhancement activities. Statistics used in this study were percentages, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.
The results of the study were as follows:
1) The efficiency of the materials was 75.86 and 75.13 percent, which indicated an acceptable level.
2) The students’ English vocabulary achievement after using the ten units of materials was significantly higher than that of the pretest at the 0.05 level.
3) The students’ retention of vocabulary immediately after using the reading plus vocabulary enhancement activities and 14 days after having completed them did not show any differences.
4) The students’ opinions toward the ten unit materials were at a good level.
Keywords: Reading Plus Vocabulary Enhancement Activities, Vocabulary Achievement, Vocabulary Retention, Students’ opinions