สมรรถนะของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
Keywords:
องค์กรแห่งการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, สมรรถนะของเลขานุการAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของเลขานุการและเปรียบเทียบสมรรถนะของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคล และพัฒนาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้ให้ข้อมูลเป็นเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของครอนบาคเท่ากับ .9793 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1. เลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 78.57 มีอายุต่ำกว่า 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.62 สถานภาพโสดร้อยละ 64.29 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 71.43 และประสบการณ์การทำงานอยู่ระหว่าง 1-3 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.05
2. ระดับสมรรถนะของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสู่การเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้โดยภาพรวม พบว่า สมรรถนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สมรรถนะอันดับ 1 มี 2 ด้าน คือ ด้านความสามารถและทักษะในการสื่อสาร และด้านความเป็นผู้นำ รองลงมา คือ ด้านการมีจิตมุ่งบริหาร ด้านการตัดสินใจ และด้านการประสานสัมพันธ์ ตามลำดับ
3. การเปรียบเทียบสมรรถนะของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสู่องค์กร แห่งการเรียนรู้ จำแนกตามเพศ พบว่า เลขานุการเพศหญิงอันดับ 1 ส่วนเลขานุการเพศชายเป็นอันดับ 2 และเมื่อทำการเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า เลขานุการเพศหญิงที่มีสมรรถต่ำสุด คือ ด้านการประสานสัมพันธ์ รองลงมา คือ ด้านการตัดสินใจ ส่วนจำแนกตามอายุ พบว่า อันดับ 1 คือ เลขานุการผู้บริหารที่มีอายุระหว่าง41 – 50 ปี รองลงมา คือ ผู้ที่มีอายุ มากกว่า 50 ปี และผู้ที่มีอายุ 30 – 40 ปี ส่วนอันดับสุดท้าย คือ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี จำแนกตามสถานภาพ พบว่า อันดับ 1 คือ เลขานุการที่มีการหย่าร้าง/หม้าย/แยกกันอยู่ รองลงมาคือ เลขานุการที่สมรส และอันดับสุดท้าย คือ เลขานุการโสด จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า อันดับ 1 คือ เลขานุการที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี รองลงมา คือ มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และอันดับสุดท้าย คือ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า อันดับ 1 คือ เลขานุการที่มีประสบการณ์มากกว่า 6 ปี รองลงมา คือ 4 – 6 ปี และ 1 – 3 ปี ส่วนอันดับสุดท้าย คือ มีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 1 ปี
4.แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสู่องค์กร แห่งการเรียนรู้ พบว่า ควรมีการใช้ทฤษฎีการจัดการความรู้ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน การแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เผยแพร่ กระจาย ถ่ายโอนความรู้ ซึ่งมีหลายรูปแบบหลายช่องทาง เช่น การฝึกอบรม การสัมมนา การสอนงาน การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่มีการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน หรือมีการถ่ายโอนความรู้ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์และผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้น และเกิดเป็นปัญญาปฏิบัติการขยายผลให้ระดับความรู้และ ขีดความสามารถขององค์กรให้สูงขึ้น
คำสำคัญ : องค์กรแห่งการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, สมรรถนะของเลขานุการ
Abstract
The Objectives of research on ‘the Efficiency of the Secretaries of the Administrators of Suan Dusit Rajabhat University in Operating the University as a Learning Organization’ were: to investigate the personal data and the efficiency of the secretaries of the administrators of Suan Dusit Rajabhat University, to compare the levels of the efficiency of the secretaries, and to develop the secretaries’ efficiency in accordance to their personal data. The population of this research were 84 secretaries of the administrators of Suan Dusit Rajabhat University. The instrument used for collecting the data ed was a set of questionnaire designed for this research. The Croanbach’s alpha of this questionnaire was .9793. The statistics used for analysing the obtained were percentages, means and standard deviations.
The results from the research indicate the following :
1. The majority of the secretaries or 78.57% of the population were female, with lower than 30 years old(47.62%). The majority of the secretaries (64.29%) were single, and 71.43% of all the population had bachelor’s degrees. In addition, 44.05% of all the population had 1-3 years, of work experiences.
2. Concerning the secret ring’ efficiency in operating Suan Dusit Rajabhat University as a learning organization, the overall efficiency was the at high level, With the mean of 4.10 and the standard deviation of 0.57. Sorted by category, the highest efficiency mean of categories were communication skills and abilities and the leadership, followed by service minds, decision making and coordination, respectively.
3.The comparison of the efficiency of the secretaries with different personal data found that female secretaries’ efficiency, in all aspects were higher than male. Considered separately, the category that receives the lowest mean from the female secretary is the coordination, followed by decision making. It was also found that the secretaries whose ages between 41-50 years old ed to have higher efficiency than others. The group with the lowest mean was the secretary whose ages were not more than 30 years. Furthermore, divorced, widowed and separate secretaries had higher efficiency than the married or single ones. Concerning the education, the secretaries Who had the educational background With the bachelor’s degree tend ed to have higher efficiency. The secretaries With work experiences exceed 6 years had the highest efficiency whilst those whose work experiencing were less 1 year than had the lowest means.
4.Concerning the guidelines of enhancing the secretaries’ efficiency, it Was suggested that the theories of knowledge management be implemented in order to create the learning, disseminate knowledge, exchange and share knowledge and transfer knowledge through various Techniques such as the training, the seminar, the lesson and transfer of knowledge through computer networks. These actions could lead to the effectiveness and the improvement of the entire efficiency of the organization.
Keywords : learning organization, Suan Dusit Rajabhat University, Performance of the Executive Secretary