การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนมัธยมสาธุการวิทยา
Keywords:
การเรียนรู้, เด็กปฐมวัยAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนมัธยมสาธุการวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนมัธยมสาธุการวิทยา จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนมัธยมสาธุการวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เทศบาลเมืองหัวหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า
1. ผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 25 – 30 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพลูกจ้าง และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,001 บาท
2. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านกิจกรรมสร้างสรรค์เป็นลำดับแรก รองลงมา ด้านกิจกรรมเสริมประสบการณ์/กิจกรรมในวงกลม ด้านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ด้านกิจกรรมกลางแจ้ง ด้านกิจกรรมเสรี/การเล่นตามมุม และด้านเกมการศึกษา ตามลำดับ
3.ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีทรรศนะต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ : การเรียนรู้ เด็กปฐมวัย
Abstract
The purposes of this research were to study and compares of the parents opinion in manage learning experiences in Matthayomsathukarnwittaya School among variables gender, age, educational attainment, occupation and income. The sample consisted of 162 parents of Hua-Hin municipality Prachuapkhirikhan Primary Educational Service Area Office 2.. The questionnaire with 0.98 reliability was used for data collection. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, t-test , One way ANOVA and scheffe’ matched pair comparison. The findings revealed that:
1.Majority of the sample were females of age 25 – 30 years old with under the bachelor degree, civil servants and income had lower than 10,001 Bath.
2.Instructional activities management totally were practiced at the highest level on all activities with the practices on creative activity coming first followed by experience – added activity, movement and rhythm activity, outdoor activity, free activity and educational games respectively.
3.The hypothesis test found that over all these were not statistical significant differences of opinions among variables genders, age, educational attainment, occupation and income
Keyword: Learning, Early Childhood