แนวโน้มการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย

Authors

  • สรรค์ เวสสุนทรเทพ และชัยสิทธิ์ ด่านกิตติ

Keywords:

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, แนวโน้มการศึกษา

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษา แนวโน้มการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของประเภทการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย ในประเด็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์โครงสร้าง องค์ประกอบ รวมถึงศึกษาแนวโน้มในด้านศึกษาประเภทต่าง ๆ และแหล่งที่มีการเผยแพร่ผลงานซึ่งผลการค้นคว้าเอกสารเกี่ยวกับการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทยนั้นพบว่า การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทยนั้นแบ่งได้เป็น 5 ประเภทตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย 1. การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมประเภทตำราภูมิทัศน์วัฒนธรรม การศึกษาประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรมทั้งในระดับสากลและในประเทศไทย ไว้เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรม โดยโครงสร้างของการศึกษาประกอบไปด้วย แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ รวมถึงกรณีศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรมมากขึ้น 2. การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมประเภทเพื่อการวิจัย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับภูมิทัศน์-วัฒนธรรมมาใช้ศึกษาพื้นที่หรือกิจกรรม การศึกษาประเภทนี้มักมีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมกับแนวคิดเฉพาะของการศึกษานั้น ๆ การศึกษาพื้นที่ รวมถึงการประเมินคุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรม 3. การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมประเภทเพื่อการจัดการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมต่างๆให้เกิดความยั่งยืน โดยมีโครงสร้างคล้ายกับการศึกษาประเภทเพื่อการวิจัย เพียงแต่เพิ่มการวิเคราะห์พื้นที่และแนวทางการจัดการเข้ามา 4. การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมประเภทเพื่อกระบวนการชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนในด้านความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม โดยมีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม กระบวนการชุมชน รวมถึงกรณีศึกษาและผลการลงพื้นที่ต่าง ๆ 5. การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมประเภทพิเศษ คือการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างไปจากการศึกษา 4 ประเภทแรก นอกจากนั้น การศึกษาแนวโน้มในการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทยนั้นพบว่า การศึกษาประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการศึกษาประเภทเพื่อการวิจัย กลุ่มการศึกษาสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่มีการเผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร อย่างไรก็ตาม การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2536และเริ่มได้รับความนิยมในการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2553การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมนั้นได้รับความนิยมมาก ภายหลังปี พ.ศ. 2553 การศึกษาภูมิ-ทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทยมีจำนวนผลงานที่ถูกเผยแพร่ลดลงเป็นลำดับจนกระทั่งปัจจุบัน

คำสำคัญ : ภูมิทัศน์วัฒนธรรม แนวโน้มการศึกษา

 

Abstract

The objective of this study is to identify the different types of cultural landscape studies in Thailand in the issues related with the purpose, structure and composition. As the result of the study about trend of cultural landscapes in Thailand, it can be separated into five categories based on the purpose of study which consist of 1. The study for cultural landscape textbook, this study aims to gather ideas and theories of the cultural landscape both internationally and in Thailand. As the guideline for the study of cultural landscapes which its structure of the studies consist of concepts, theories and case studies to understand the concept of the greater cultural landscape. 2. The study for cultural landscape research, this study is for bringing the concept of cultural landscape study in the study of area or activity. The studies in this category usually consist of the structure which including its specific concept of education. The study in this area also includes the assessment of the cultural landscape value. 3.The study of cultural landscape for management which its purpose for recommendation of guideline in sustainable cultural landscape management which has the structure similar to the research study but include space analysis and management approach 4. The study of cultural landscape for community procedure which its purpose for educating the community to understanding of the cultural landscape. The structure consists of concepts, theories about the cultural landscape and community procedure including case studies and the results of site studies. 5. The study of special cultural landscape, this propose is relatively different from four type above. Furthermore, the trends in this studies have been found that these studies in Thailand for research in architectural study and vernacular architecture are most published by Silpakorn University. However, the trend of cultural landscapes studies in Thailand has initiated in 1993 and ubiquitous after 2005 until between 2008 and 2010, the study of cultural landscape has been very popular. But after 2010 the number of published studies in cultural landscapes have been declined until present.

Keyword : cultural landscape, trend

Downloads

How to Cite

และชัยสิทธิ์ ด่านกิตติ ส. เ. (2015). แนวโน้มการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 10(3), 143–164. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29165

Issue

Section

Original Articles