ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

Authors

  • เอกศักดิ์ เฮงสุโข

Keywords:

ศักยภาพชุมชน, การสร้างเสริมสุขภาพ, การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มแกนนำหลักในการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มชมรมรักษ์สุขภาพผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทั้งหมดจำนวน 609 ราย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม กำหนดขนาดตัวอย่างแต่ละกลุ่มโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน โดยมีระดับความเชื่อมั่น 95% ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 กลุ่มแกนนำหลักในการสร้างเสริมสุขภาพ และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 210 คน กลุ่มที่ 2 อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 108 คน และกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 291 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุโดยรวมแล้วมีศักยภาพอยู่ในระดับสูง โดยศักยภาพของชุมชนรายด้าน คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนมีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลางส่วนด้านภาวะผู้นำชุมชน และด้านความยึดมั่นผูกพันของชุมชนมีศักยภาพอยู่ในระดับสูง สาเหตุของการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับปานกลางพบปรากฏการณ์ที่น่าสนใจว่า งบประมาณในการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้สูงอายุ จนทำให้บางครั้งในการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายเกิดความไม่ต่อเนื่องและส่งผลเสียต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน.

คำสำคัญ : ศักยภาพชุมชน การสร้างเสริมสุขภาพ การออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ

 

Abstract

This current study aimed to examine the capacity in health promotion by exercise of senior people. The population participated in this study were the mainstay group of health promotion by exercise, the leaders of communities (both official and unofficial), members of Subdistrict Administrative Organization, volunteers of Public Health, Seniors’ Health Care Club, and the seniors who are over 60 years old. There were 609 participants in this study divided into 3 groups. The sample size were determined by using Krejcie and Morgan‘s table. The reliability was 95% included Group 1: 210 people from mainstay group of health promotion by exercise and members of Subdistrict Administrative Organization, Group 2: 108 volunteers of Public Health, and Group 3: 291 seniors who are over 60 years old. The data were analyzed from questionnaires for frequency, percentage, mean score, and standard. The result found that the potentiality in health promotion by exercise of senior people was mostly considered as high. Specifically, capacity in participation was considered as moderate. The ability in leadership and engagement aspect was high. There was an interesting point in the results that the participation of community was moderate. It was found that the budget in health promotion of senior people was not enough for seniors’ need which affected discontinuance in physical activities and community’s participation.

Keywords : Capacity, Health Promotion, Exercise, Senior People

Downloads

How to Cite

เฮงสุโข เ. (2015). ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 10(3), 129–142. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29164

Issue

Section

Original Articles