รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย

Authors

  • ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง ชวนชม ชินะตังกูร และ เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์

Keywords:

ประสิทธิผลโรงเรียน, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้, สมรรถนะองค์การ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำ สมรรถนะองค์การ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน และประสิทธิผลของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างตัวแปรปัจจัย 3) เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจากตัวแปรปัจจัย และ 4) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลาง ผู้ตอบแบบสอบ คือ ผู้อำนวยการ, ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน ภาวะผู้นำ สมรรถนะองค์การ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 567 คนในช่วงระหว่างกันยายนถึงพฤศจิกายน 2556 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง ข้อค้นพบจากการวิจัย 1) ภาวะผู้นำ สมรรถนะองค์การ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน และประสิทธิผลของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (ß=.35, p<.01) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (ß=.35, p<.01) และสมรรถนะขององค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (ß=.19, p<.01) ภาวะผู้นำไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (ß=1.029, p=.303) แต่ภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลโรงเรียน (ß=.60, p<.01) ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน (ß=.19, p<.01) ผ่านการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (ß=.24, p<.01) และผ่านสมรรถนะขององค์การ (ß=.16, p<.01) 3) รูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 62 และ 4) รูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัยคือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของโรงเรียนผ่านปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นเพื่อยกระดับประสิทธิผลโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้เป็นสำคัญ

คำสำคัญ : ประสิทธิผลโรงเรียน การมีส่วนร่วมของชุมชน การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สมรรถนะองค์การ

Abstract

The purposes of this research were: 1) to determine leadership, organizational competency, learning organization, community participation and school effectiveness 2) to study effect between factor variables 3) to construct casual model from factor variables and 4) to validate fitness between the hypothesis model and empirical data. The samples were small-sized primary schools under the Office of the Basic Education Commission in the Central Region of Thailand. The respondents comprised of principals, teachers and heads of school board. Instruments used for data collection were questionnaires of school effectiveness, leadership, organizational competency, learning organization and community participation. There were five hundred and sixty-seven (567) opinions received from September to November 2013. Statistics used in the analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis, confirmatory factor analysis and path analysis. The research finding revealed that: 1) the leadership, organizational competency, learning organization, community participation and school effectiveness were at a high level; 2) Community participation had direct positive effect on school effectiveness (ß=.35, p<.01). Learning organization had direct positive effect on school effectiveness (ß =.35, p<.01). Organizational competency had direct positive effect on school effectiveness (ß=.19, p<.01). Leadership had no direct positive effect on school effectiveness (ß=1.029, p=.303). But leadership had indirect effect on school effectiveness (ß =.60, p<.01) through community participation (ß =.19, p<.01), learning organizational (ß=.24, p<.01) and organizational competency (ß =.16, p<.01). 3) The model accounted sixty two (62) percent of the variance of school effectiveness. 4) The model was fit to the empirical data. The new knowledge finding is that leadership of school administrators had indirect effect on school effectiveness through community participation and learning organization. In order to achieve better effectiveness in small-sized primary schools, the school administrators should promote community participation and learning organization as priority.

Keywords: school effectiveness, community participation, learning organization, organizational competency

Downloads

How to Cite

ชวนชม ชินะตังกูร และ เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ ธ. ต. (2015). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 10(3), 95–112. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29161

Issue

Section

Original Articles