การวิเคราะห์ดัชนีปริจเฉทในบทสนทนาออนไลน์ของนักศึกษาไทย: กรณีศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Keywords:
บทสนทนาออนไลน์ ดัชนีปริจเฉทAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) หาความถี่ในการใช้ดัชนีปริจเฉทในบทสนทนาออนไลน์ของนักศึกษาไทย 2) ศึกษาหน้าที่ของดัชนีปริจเฉทในบทสนทนาออนไลน์ของนักศึกษาไทยโดยกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานี้คือนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 40 คน นักศึกษาแต่ละคนได้สนทนาโต้ตอบกับชาวต่างชาติโดยการพิมพ์ข้อความผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์และใช้ Concordance Program เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อความสนทนาเพื่อหาความถี่และตำแหน่งของดัชนีปริจเฉทในบทสนทนาออนไลน์ของนักศึกษาไทย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าดัชนีปริจเฉทที่พบได้มากที่สุดในบทสนทนาออนไลน์ของนักศึกษาไทยคือ “and” พบว่าถูกใช้ 26% “so” ถูกใช้ 16% และ “well” ถูกใช้ 9% นอกจากนี้จากการวิเคราะห์หน้าที่ของดัชนีปริจเฉททั้งสามตัวได้ผลสรุปดังนี้ 1) หน้าที่ของดัชนีปริจเฉท “and” ถูกใช้มากที่สุดเพื่อเพิ่มข้อความที่ต่อเนื่องมาจากข้อความเก่า 2) หน้าที่ของดัชนีปริจเฉท “so” ที่ถูกใช้มากที่สุดเพื่อสรุปข้อความในบทสนทนา และ 3) หน้าที่ของดัชนีปริจเฉท “well” ที่ถูกใช้มากที่สุดเพื่อเป็นการโต้ตอบบทสนทนา โดยปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความแตกต่างในด้านความถี่และหน้าที่ในการใช้ดัชนีปริจเฉทของนักศึกษาไทยคือความอิสระของหัวข้อการสนทนาและลักษณะการสนทนาผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์
คำสำคัญ : บทสนทนาออนไลน์ ดัชนีปริจเฉท
ABSTRACT
The purposes of this study were 1) to explore the frequency of discourse markers
used in chat texts by non-native speakers through the Internet, and 2) to investigate functions of discourse markers used by non-native speakers in chat texts. The participants
of this study were 40 fourth-year Thai students majoring in English from the Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. During the data collection each participant had an English conversation with his native partner by typing messages through online program. Concordance program was used as a tool to explore frequency and position of discourse markers used by the non-native speakers in the conversation. The results of the study showed that the discourse markers “and” was used 26%, “so” was used 16% and “well” was found 9%, respectively. Moreover, the investigation of the discourse marker functions showed that 1) “and” was used the most to continue the former information. 2) “so” was used the most to make conclusion, and 3) “well” was used to make response and reaction the most. The factors which possibly caused the difference between the frequency and function of discourse markers use were the freedom of each chat topic and the characteristics of an interaction through the chatting online programs.
Key words: chat texts, discourse markers