วามสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของสื่อกับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชน ในกรุงเทพมหานคร
Keywords:
media influence, violent behavior, child and youth, BangkokAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องอิทธิพลของสื่อที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาอิทธิพลของสื่อ ปัจจัยส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชน และปัจจัยแวดล้อมด้านสื่อของเด็กและเยาวชนที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร
การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และสถิติทดสอบไค-สแควร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวของสถานพินิจเด็กและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร เพศชาย 10 คน เพศหญิง 10 คน และการสนทนากลุ่มนักวิชาการด้านเด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร 9 คน
ผลการศึกษาพบว่า
1. พฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนที่ศึกษาในครั้งนี้แบ่งเป็น พฤติกรรมความรุนแรงที่แสดงออกทางวาจา พฤติกรรมความรุนแรงที่แสดงออกทางกาย และแนวโน้มการเกิดพฤติกรรมความรุนแรงในอนาคต ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
- พฤติกรรมความรุนแรงที่แสดงออกทางวาจาที่กลุ่มตัวอย่างเคยกระทำอันดับแรกคือพูดจาเยาะเย้ย ดูหมิ่น ถากถางผู้อื่น รองลงมาคือใช้คำพูดที่มีลักษณะมุ่งร้ายให้คนอื่นได้รับผลกระทบบอบช้ำทางด้านจิตใจ และใช้คำพูดข่มขู่ คุกคามให้คนอื่นรู้สึกหวาดกลัวและรู้สึกไม่ปลอดภัย
- พฤติกรรมความรุนแรงที่แสดงออกทางกายที่กลุ่มตัวอย่างเคยกระทำอันดับแรกคือเตะถีบบุคคลอื่น รองลงมาคือต่อย ตบ ตี หรือกระชากผู้อื่น และแข่งรถในทางสาธารณะ
- แนวโน้มการเกิดพฤติกรรมความรุนแรงในอนาคต พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะไม่แสดงพฤติกรรมความรุนแรงแม้ว่าจะมีคนพูดถึงตนเองในแง่ไม่ดี ทำให้เสียหายทั้งที่ไม่ใช่เรื่องจริง หรือถูกดุด่าว่ากล่าว พูดจาหยาบคาย หรือพูดจาให้ไม่พอใจโดยไร้เหตุผล หรือถูกทำร้ายร่างกาย โดยที่ไม่ทันตั้งตัว
2. อิทธิพลของสื่อที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชน ที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ คือ เวลาที่เข้าชมสื่อแต่ละประเภทในหนึ่งวัน และความรุนแรงที่อยู่ในสื่อ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
- สื่อที่กลุ่มตัวอย่างทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์อันดับแรกคือโทรทัศน์ รองลงมาคืออินเทอร์เน็ต และภาพยนตร์
- เวลาที่เข้าชมสื่อแต่ละประเภทในหนึ่งวัน พบว่าสื่อที่มีการเข้าชมมาก ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เกมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเข้าชมตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน
- ความรุนแรงด้านภาพ และเสียงที่อยู่ในสื่อที่พบบ่อยเป็นอันดับแรกคือภาพยนตร์ รองลงมาคือโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ความรุนแรงด้านเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่พบบ่อยเป็นอันดับแรกคือโทรทัศน์ รองลงมาคือภาพยนตร์ และหนังสือพิมพ์
3. ปัจจัยส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชนที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชน ที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ คือ เพศ อายุ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือสิ่งเสพติด ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
- เพศ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
- อายุ พบว่ากลุ่มตัวอย่างอายุในช่วง 10-12 ปี 13-15 ปี และ 16-18 ปี ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน
- พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือสิ่งเสพติด พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือสิ่งเสพติด
4. ปัจจัยแวดล้อมด้านสื่อของเด็กและเยาวชนที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชน สำหรับการศึกษาในครั้งนี้แบ่งเป็น สื่อบุคคลภายในครอบครัว สื่อบุคคลภายนอกครอบครัว และสถานการณ์ในชุมชน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
- สื่อบุคคลภายในครอบครัว พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาศัยอยู่ด้วยกันกับพ่อและแม่ และภายในครอบครัวไม่มีปัญหาความรุนแรง
- สื่อบุคคลภายนอกครอบครัว พบว่าเพื่อนฝูงของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีพฤติกรรมความรุนแรง
- สถานการณ์ในชุมชน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่พบสถานการณ์ที่เป็นปัญหาภายในชุมชน
5. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อิทธิพลของสื่อ ปัจจัยส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชน และปัจจัยแวดล้อมด้านสื่อของเด็กและเยาวชน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชน โดยความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของสื่อกับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ฟีอยู่ระหว่าง 0.50 – 0.68)ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชนกับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ฟีอยู่ระหว่าง 0.53 – 0.58) และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมด้านสื่อของเด็กและเยาวชนกับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ฟีอยู่ระหว่าง 0.50 – 0.56)
คำสำคัญ : อิทธิพลของสื่อ พฤติกรรมความรุนแรง เด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร
Abstract
The objectives of the research were to study violent behavior of child and youth in Bangkok, the relationship between media influence, personal factors and media environment factors and violent behavior of child and youth in Bangkok. The methodology was mixed method of quantitative and qualitative research. The samples for quantitativeresearch were 400 children and youths in Bangkok. The statistics used to analyzed data were frequency, percentage and chi-square test. The qualitative methods were in-depth interview 10 boys and girls of Juvenile Observation and Protection, Bangkok and focus group discussion 9 officers of Juvenile Observation and Protection, Bangkok.
The study results found that
1.Violent behavior in this study was subdivided into verbal violent behavior, physical violent behavior and tendency of violent behavior in the future. The results found as these followings
- Verbal violent behavior sorted descending were scoff, disdain and mocking others, malignancy that cause trauma to others, and intimidation caused others feel fear and unsafe.
- Physical violent behavior sorted descending were kicking others, stinging, slapping, hitting, and surging others, and race in public way.
- Tendency of violent behavior in the future found that most of the samples would not have violent behavior although they were talked to in a bad manner without the truth, were damned, talked with ribald, talked illogically, or assaulted by disorienting.
2. Media influence related to violent behavior of child and youth in this study were time period accessed to each media per day and violent in the media. The results found as these followings
- Media accessed descending were television, internet, and mobile phone.
- Media accessed with much more time period equal 1 hour or more per day were movie, television, computer game, internet and mobile phone.
- Violent image and voice frequently founded descending in movie, television, and internet. Violent content founded descending in television, movie, and newspaper.
3.Personal characteristics of child and youth related to violent behavior of child and youth in this study were gender, age, and behavior related to allurements or drugs. The results found as these followings
- Most of the samples were female.
- The samples were 10-12 years old, 13-15 years old, and 16-18 years old with nearby proportion each group.
- Most of the samples were not related to allurements or drugs.
4.Media environment of child and youth related to violent behavior of child and youth in this study was subdivided into personal media within family, personal media out of family, and situation in community. The results found as these followings
- Most of the samples lived with parents. There was no violent in their family.
- Most of the samples’ friends had no violent behavior.
- Most of the samples found no trouble situation in their community.
5.The hypothesis testing found that media influence, personal characteristics, and media environment of child and youth, and media environment of child and youth related to violent behavior of child and youth. The relationship between media influence and violent behavior of child and youth was in the medium to high rank (Phi correlation coefficient was between 0.50-0.68). The relationship between personal characteristics of child and youth and violent behavior of child and youth was in the medium rank (Phi correlation coefficient was between 0.53-0.58). And the relationship between media environment of child and youth and violent behavior of child and youth was in the medium rank (Phi correlation coefficient was between 0.50-0.56)
Keywords :media influence, violent behavior, child and youth, Bangkok