จาก Electronic-learning สู่ Ubiquitus-learning From Electronic-learning to Ubiquitus-learning

Authors

  • รองศาสตราจารย์ ดร.สาโรช โศภีรักข์

Keywords:

รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการได้รับการจ้างงานสาขาการท่องเที่ยว

Abstract

สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร์
ก็สามารถทำงานได้แทบทุกสิ่งจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ในด้านการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ สามารถตอบสนองผู้เรียนในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการเรียนในรูปแบบ นอกรูปแบบ และการเรียนตาม อัธยาศัย ก่อนหน้านี้การเรียนในรูปแบบของอีเลิร์นนิ่งก็นับว่าเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ แรกๆ ที่เป็นแนวทางในการเรียนรู้แบบออนไลน์ โดยเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เน้นการใช้เครื่องมือ
การสื่อสารแบบไร้สายเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน การออกแบบบทเรียนบนเว็บจึงเสมือนการสอน ในชั้นเรียน มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี มุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ความสามารถและทักษะของตนเองอย่างเต็มที่ อีกทั้ง
การสร้างบทเรียนบนเว็บก็ผนวกเอารูปแบบการสอนต่างๆ เช่น การทำกิจกรรมแบบโครงงาน การเรียนรู้ แบบอิงประสบการณ์ การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้ร่วมกัน มาใช้ เป็นต้น ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้
โดยการเรียนตามหลักการเรียนแบบนำตนเอง เสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้เรียนได้ศึกษาและแสวงหาในสิ่งที่ ชอบและมีความคิดสร้างสรรค์ ในยุคต่อมาคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจากคอมพิวเตอร์ที่ยึดติด
อยู่กับที่ ก็พัฒนาเป็นคอมพิวเตอร์พกพาไร้สายในรูปแบบต่างๆ เช่น เน็ทคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้อำนวยความสะดวกในการใช้และมีเครื่องมือและแอปพลิเคชันเพิ่มเติมอย่างมากมาย สะดวกในการใช้และเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้กับสื่อออนไลน์มากที่สุด อีกทั้งการติดต่อสื่อสารก็พัฒนาไปอย่าง รวดเร็วจากยุค 2G ก็ปรับเป็น 3G 4G และไปสู่ 5G ในอนาคต สภาพของการเรียนการสอนจึงต้องปรับให้ทัน กับการสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็ว ยุคของ Mobile- Learning จึงเข้ามาสู่กระบวนจัดการเรียนรู้ และกำลัง จะปรับผ่านไปสู่ยุค Ubiquitus-Learning ในเวลาอีกไม่นาน

References

Burbules, N. C. (2010). Ubiquitus Learning:Meaning of Ubiquitus Learning. Urbana and Chicaco, America University of Iiinois. Geddes. (2006). Mobile learning in the 21st century: benefit for learners. Retrieved April 11, 2007, from http://knowledgetree.flexiblelearning.net.au/edition06/download/ geddes.pdf. Gi-Zen Liu and Gwo-Jen Hwang. (2010). A key step to understanding paradigm shifts in

e-learning toward context-aware ubiquitus learning. British Journal of Educational Technology, 41(2), E1–E9. Keegan, D. (2002). The future of learning From elearning to mLearning, Chapter 3 From eLearning to Mlearning. Retrieve October13, 2006, from http://files.eric.ed.gov/ fulltext/ED472435.pdf.

Downloads

Published

2019-04-30

How to Cite

โศภีรักข์ ร. ด. (2019). จาก Electronic-learning สู่ Ubiquitus-learning From Electronic-learning to Ubiquitus-learning. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 12(1), 7–26. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186708

Issue

Section

Invitation