การบูรณาการเทคโนโลยีการศึกษาสู่การสอน: Integrating Educational Technology into Teaching

Authors

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล รำไพ

Keywords:

การบูรณาการเเทคโนโลยีการศึกษาสู่การสอน

Abstract

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นโดยสำนักพิมพ์ เพียร์สัน (Pearson) ประเทศสหรัฐอเมริกาใน หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นโดยสำนักพิมพ์ เพียร์สัน (Pearson) ประเทศสหรัฐอเมริกาใน  ปี ค.ศ. 2015 มีจำนวน 452 หน้า ผู้แต่งคือ Margaret D. Roblyer ซึ่งได้รับการพิมพ์เป็น  ครั้งที่ 7 แล้ว นับตั้งแต่เปิดตัวพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ ปี ค.ศ. 1999 โดย M. D. Roblyer เป็น ศาสตราจารย์ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา จาก Nova Southeastern University เป็นผู้ที่มี ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้าน  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนเป็น อย่างมาก อีกทั้งยังเป็นผู้คร่ำหวอดในการเขียน หนังสือและตำรามากว่า 40 ปีแล้ว โดยหนังสือเล่ม นี้ได้ถูกถ่ายทอดเนื้อหาสาระซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลัก ในการนำเสนอหลักการทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยแบ่งเนื้อหาสาระหลักๆ ออก เป็น 4 ตอนหลัก (Part) และประกอบด้วย 15 บท (Chapter) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นสาระเกี่ยวกับปฐมบทของการบูรณาการเทคโนโลยีการศึกษาสู่การสอน ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน โดยนำเสนอผ่านเนื้อหาในบทที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของภาพรวมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และบทที่ 2 กล่าวถึงหลักการ ทฤษฎี ที่สำคัญเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีการศึกษาไปสู่การปฏิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพ ตอนที่ 2 เป็นสาระเกี่ยวกับเทคโนโลยีสำหรับการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยบทที่ 3 นำเสนอเนื้อหา เกี่ยวกับซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมเพื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ โปรแกรมฝึกทักษะและฝึก ปฏิบัติ (Drill-and-Practice) โปรแกรมจำลองสถานการณ์ (Simulation) เกมการสอน (Instructional Games) และโปรแกรมการแก้ไขสถานการณ์ปัญหา (Problem-Solving) อาทิ เช่น Math by Design, Flash card activities, chart fill-in activities, branching drills และ extensive feed-back activities เป็นต้น ส่วนบทที่ 4 ได้นำเสนอเนื้อหาซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมพื้นฐานในการเรียนการสอน ได้แก่ โปรแกรม ประมวลผลคำ (Word Processing Software) โปรแกรมการคำนวณ (Spreadsheet Software) และ โปรแกรมนำเสนองาน (Presentation Software) และบทที่ 5 กล่าวถึงเนื้อหาซอฟท์แวร์หรือโปรแกรม ประยุกต์ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ได้แก่ โปรแกรมสำหรับสร้างงานสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing Software) โปรแกรมออกแบบเว็บไซต์ (Web Design Software) โปรแกรมตกแต่งเอกสารงานกราฟิก (Graphic Document Makers) โปรแกรมสร้างภาพแผนผังมโนทัศน์ (Concept Mapping Software) และสารานุกรมออนไลน์ (Online Encyclopedias) เป็นต้น ตอนที่ 3 เป็นสาระเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเชี่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ โดยบทที่ 6 นำเสนอสาระ Flash card activities, chart fill-in activities, branching drills และ extensive feed-back activities เป็นต้น ส่วนบทที่ 4 ได้นำเสนอเนื้อหาซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมพื้นฐานในการเรียนการสอน ได้แก่ โปรแกรม ประมวลผลคำ (Word Processing Software) โปรแกรมการคำนวณ (Spreadsheet Software) และ โปรแกรมนำเสนองาน (Presentation Software) และบทที่ 5 กล่าวถึงเนื้อหาซอฟท์แวร์หรือโปรแกรม ประยุกต์ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ได้แก่ โปรแกรมสำหรับสร้างงานสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing Software) โปรแกรมออกแบบเว็บไซต์ (Web Design Software) โปรแกรมตกแต่งเอกสารงานกราฟิก (Graphic Document Makers) โปรแกรมสร้างภาพแผนผังมโนทัศน์ (Concept Mapping Software) และสารานุกรมออนไลน์ (Online Encyclopedias) เป็นต้น ตอนที่ 3 เป็นสาระเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเชี่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ โดยบทที่ 6 นำเสนอสาระ  เกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือเครื่องมือแบบออนไลน์ และการพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ ส่วนบทที่ 7 ได้นำเสนอ เนื้อหาความเป็นมาเกี่ยวกับหลักการเรียนการสอนทางไกล และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ออนไลน์และแบบ ผสมผสาน (Blended Learning) และบทที่ 8 กล่าวถึงการประยุกต์ใช้แบบจำลอง (Model) หลักสูตร และ โปรแกรมการเรียนการสอนที่เน้นเทคโนโลยีการศึกษา ตอนที่ 4 เป็นสาระเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีการศึกษาไปสู่การปฏิบัติในหลักสูตรการเรียน การสอน โดยบทที่ 9 ได้นำเสนอกรณีศึกษาการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาศิลป์ ส่วนบทที่ 10 เป็นการนำเสนอกรณีศึกษาการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนวิชา ภาษาต่างประเทศและประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง บทที่ 11 เป็นการนำเสนอกรณีศึกษา การบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บทที่ 12 เป็นการนำเสนอ กรณีศึกษาการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา บทที่ 13 เป็นการนำเสนอ  กรณีศึกษาการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนวิชาดนตรีและศิลปะ บทที่ 14 เป็นการนำเสนอ กรณีศึกษาการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และบทที่ 15 เป็น  การนำเสนอกรณีศึกษาการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ โดยสรุปภาพรวมของหนังสือเล่มนี้ซึ่งนับเป็นเอกสารทางวิชาการที่ทรงคุณค่าเล่มหนึ่ง โดยผู้เขียน ได้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ หลักการ ทฤษฎี พร้อมทั้งตัวอย่าง และกรณีศึกษาผ่านประสบการณ์ในวิชาชีพด้าน เทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะเหมาะกับผู้อ่านที่เป็นครูอาจารย์ผู้สอน และนักวิชาการศึกษาที่ สนใจในการประยุกต์และบูรณาการเทคโนโลยีการศึกษาสู่การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Downloads

Published

2016-01-30

How to Cite

รำไพ ผ. ด. (2016). การบูรณาการเทคโนโลยีการศึกษาสู่การสอน: Integrating Educational Technology into Teaching. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 12(1), 205–206. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186702

Issue

Section

Book Review