กลมายาแห่งสื่อ (ใหม่) ภายใต้โลกยุคดิจิตอล

Authors

  • อนุสรณ์ พงษ์ไพบูลย์

Keywords:

มายาคติ, ภาพถ่าย, โลกยุคดิจิตอล, ความจริงเสมือน

Abstract

การถ่ายภาพเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งผนวกศาสตร์ไว้หลากหลายแขนง อาทิเช่น วิทยาศาสตร์
ศิลปศาสตร์ทั้งในลักษณะของศิลปะบริสุทธิ์และศิลปะประยุกต์ รวมถึงนิเทศศาสตร์ นอกจากนั้นการสร้างสรรค์
ภาพถ่ายจึงต้องสอดประสานแนวคิดต่างๆ เหล่านั้นให้เกิดความสมดุล เพื่อให้ภาพที่จากผู้ถ่ายภาพนั้นเป็น
ภาพที่สร้างสรรค์ แต่ยังคงซึ่งความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้ถ่ายภาพต้องการ การสร้างภาพถ่าย ณ ปัจจุบัน
มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นเหตุเพราะเทคโนโลยีทางการถ่ายภาพมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้ภาพถ่าย
เกิดการประกอบสร้างความหมายมากขึ้น สามารถโน้มน้าวชักจูงใจ หรือเชื่อมโยงตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่อยู่
เบื้องหลังภาพถ่ายมากขึ้น สัญญะซึ่งในที่นี้หมายรวมถึงการสร้างความหมายเชิงสัญลักษณ์ให้ปรากฏใน
ภาพถ่าย มีความแยบยล แฟร์ดินองด์ เดอ โซส์ซูร์ กล่าวถึง สัญญะว่า “สัญญะ” เป็นระบบของสัญลักษณ์
ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทั้งด้านความหมายและโครงสร้าง อันหมายถึงตัวแสดง (Sound-Image) และตัวหมาย
(Concept) อีกทั้งแนวความคิดของชาร์ลส์ ซอนเดอร์ส์ เพียร์ซ ที่แปลรูปลักษณะของการนำเสนอสัญญะเชิง
Icon Index และ Symbol ซึ่งขึ้นอยู่กับความใกล้ไกลของความจริงที่ปรากฏ ความหมายที่เกิดขึ้นมีทั้ง
ทางตรงทางอ้อมอันถูกสอดแทรกให้เห็นในภาพถ่ายมากขึ้นจนราวกับดูเหมือนเป็นความจริง คล้ายคลึงกับ
แนวคิดเชิงมายาคติ (Myth) ของโรล็องด์ บาร์ธส์ ซึ่งให้ความหมายเชิงสัญญะในลักษณะของการประกอบ
สร้างความหมายที่เป็นมากกว่าความหมายที่เป็นอยู่ตามสภาพ สื่อ (ใหม่) หรือที่เราเรียกรวมว่า “โลกยุค
ดิจิตอล” กำลังสร้างแนวคิดแห่งความหมายนั้นภายใต้ภาพถ่าย ทั้งในเชิงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมอง
ภาพโดยตรง ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังจากการมองภาพนั้นสิ้นสุด และผลกระทบที่ผ่านการประกอบสร้าง
ขึ้นมาใหม่ทำให้การสร้างสรรค์ภาพถ่ายไม่เพียงแต่สร้างรูปแบบ หรือรูปลักษณะของการสื่อสารเท่านั้น

หากแต่ภาพถ่ายในสังคมดิจิตอลมีสิ่งที่ซ่อนเร้น หรือมีความหมายแฝงอยู่ แต่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นผู้มองภาพ
สามารถรับรู้และสัมผัสได้ ตลอดจนสามารถสร้างความหมายเชิงสัญญะสำหรับก้าวต่อไปของการสื่อสาร

References

Barthes, R. (1964). Elements of Semiology. Retrieved September 16, 2011, from http://
www.marxists.org.
Barthes, R. (1972). Mythologies. New York: The Noonday Press.
Buchler, J. (1995). Philosophical Writings of Peirce. New York: Dover Publications, Inc.
Castells, M. (2009). Communication Power. New York: Oxford University Press.
Copeland, C. (2010). Photography in Crisis. Afterimage, 38(3), 21.
Deledalle, G. (2000). Charles S. Peirces’s Philosophy of Signs: Essays in Comparative
Semiotic. Indiana: Indiana University Press.
Dominick, J. (n.a.) The Dynamics of Mass Communications Media in the Digital Age. 8th ed.
New York: McGraw-Hill.
Griffiths. (n.a.) M. A Semiotic Analysis of Diesel Print Ads. (n.p.)
Harris, C. (n.a.) Photographic Perception: The Myth of the Thousand Words.
Kaewthap, K. (2001). Media and Cultural Studies. Bangkok: Adison Press Product Co., Ltd.
(in Thai)
Kanpai, K. (2008). Psychology of Communication. Bangkok: Rianboon-karnpim (1998).
(in Thai)
Langrehr, D. (2011). From a Semiotic Perspective: Inference Formation and the Critical
Comprehension of Television Advertising. Retrieved September 27, 2011, from
http://www.readingonline.org.
Levey, M. (1992). The 35 mm Film Source Book. Boston London: Focal Press.
McDonald, R. (2004). Narrative and the “Gift of Vision”: The Photography of Jack Spencer
Southern Quarterly, 42 (4), 52.
McLuhan, M. (2006). Understanding Media. New York: Routledge.
McQuail, D. (2005). McQuail’s Mass Communication Theory. 5th ed. London: Sage.
O’Halloran et al. (2009). DIGITAL SEMIOTICS. 10th ed. 22-26.
Saussure, F. de. (1959). Course in General Linguistics. New York: The Philosophical Library
Inc.
Sonia, M. et al. (2011). The Semiotic Method from Signs of Life in the USA. Boston:
Bedford/St. Martin’s. Retrieved September 27, 2011, from http://courses.
wcupa.edu.
Teppaboot, V. (2013). Credibility-Enhancing Communication Framework for Rajabhat
Universities’ Website. SDU research Journal Humanities and Social Sciences,
9 (2), 187-198. (in Thai)
Terence, H. (2003). Structuralism and Semiotics. New York: Routledge.

Downloads

Published

2016-08-30

How to Cite

พงษ์ไพบูลย์ อ. (2016). กลมายาแห่งสื่อ (ใหม่) ภายใต้โลกยุคดิจิตอล. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 12(2), 213–230. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186392

Issue

Section

Review Articles