ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครนายกตามการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการ

Authors

  • รวี ศิริปริชยากร

Keywords:

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, การปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการ

Abstract

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการ ของเด็กปฐมวัยตามการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครู และผู้ปกครองเด็กอายุระหว่าง 3-5 ปี ที่ศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัด นครนายก จำนวน 362 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินพัฒนาการ 4 ด้านตามการปฏิบัติอย่างเหมาะสม กับพัฒนาการ ได้แก่ ด้านกล้ามเนื้อใหญ่ ด้านกล้ามเนื้อย่อย ด้านภาษาและการสื่อสาร และด้านอารมณ์และ สังคม มีค่าความเชื่อมั่น 0.91, 0.94, 0.95 และ 0.88 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของ เด็กปฐมวัย ได้แก่ ด้านการอบรมเลี้ยงดู (แบบประชาธิปไตย, แบบรักสนับสนุนและแบบใช้เหตุผล) ด้านสภาพแวดล้อม (การจัดสภาพแวดล้อมภายนอก และการจัดสภาพแวดล้อมภายใน) และด้านการจัด การเรียนรู้ (การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชน) มีค่าความเชื่อมั่น 0.87, 0.89 และ 0.90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ คาโนนิคอล ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าสถิติพื้นฐานของการอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนรู้ และพัฒนาการตาม การปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. ค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอลของการอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนรู้ กับพัฒนาการตามการปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ มีค่าเท่ากับ .412, .372, .188 และ .106 ตามลำดับ ซึ่งในฟังก์ชันที่ 1 และฟังก์ชันที่ 2 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนในฟังก์ชันที่ 3 และฟังก์ชันที่ 4 ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

3. ค่าน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอลของการอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนรู้ กับพัฒนาการตามการปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ ส่งผลซึ่งกันและกันได้ 2 ฟังก์ชัน โดยฟังก์ชันแรก ความสัมพันธ์เกิดจากการอบรมเลี้ยงดู การจัดสภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนรู้ กับพัฒนาการตาม การปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ ส่วนฟังก์ชันที่สองความสัมพันธ์เกิดจากการอบรมเลี้ยงดู การจัด สภาพแวดล้อม กับพัฒนาการตามการปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ

 

References

กัญญา เทียมทัด. (2559). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนมัธยมสาธุการวิทยา.
วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 1-18.
กรมการปกครอง กองราชการส่วนตำบล. (2539). คู่มือพนักงานส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษา
ดินแดน กรมการปกครอง.
กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2552). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
กุศล สุทรธาดา และจิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2544). รูปแบบและระบบการจัดบริการ สถานเลี้ยงเด็กที่มี
คุณภาพในประเทศไทย : กรณีพนิจศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
จีราพร ศรีวัฒนานุกูลกิจ. (2542). สถานรับเลี้ยงเด็ก: สภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผล กระทบต่อการใช้
บริการ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฐิติยา เนตรวงษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และ
ทักษะ ชีวิตด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์, 12(3), 95-111.
เลิศศักดิ์ คำปลิว. (2551). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
สกาวรัตน์ เทพรักษ์ และคณะ. (2557). การศึกษาปัจจัยด้านการเลี้ยงดูของผู้ปกครองและการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5.
งานอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
สราวดี เพ็งศรีโคตร และจันทร์ชลี มาพุทธ. (2554). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา
ปฐมวัย. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 7(1), 68-82.
Bredekamp, S. (2010). “Chapter 3 Understanding and Applying Developmentally
Appropriate Practice,” Effective Practices in Early Childhood Education: Building
a Foundation, Retrieved July 22, 2015, from http:/www.learningace.com/
textbooks/12090-effectivepractices -in-early-childhood-education-building-afoundation.
Bredekamp, S. & Copple, C. (1997). Developmentally Appropriate Practice in Early
Childhood Programs (revised edition). U.S.A.: National Association for the
Education of Young Children.
Novick, R. (1996). Successful Early Childhood Education in an Imperfect World: Lessons
Learned from Four Northwest Schools, Retrieved July 30, 2015, from http://www.
nwrel.org/cfc/publications/imperfect.html.
Rushton, S., & Larkin, E. (2001). Shaping the Learning Environment: Connecting
Developmentally Appropriate Practice to Brain Research. Early Childhood
Education Journal, 19(1), 25-33.
Translated Thai References
Bureau of Local Educational Development. (2009). Child Development Centers of Local
Administrative Organizations. Bangkok: Department of Local Administration.
(in Thai)
Department of Local Administration. (1996). Local Administrative Employee Manual.
Bangkok: Territorial Defence Volunteers Printing. (in Thai)
Kumplew, L. (2008). Creating Conducive Learning Environment of Small Schools in
Mahasarakham Educational Service Area 1. Mahasarakham: Rajabhat
Mahasarakham University. (in Thai)
Netwong, T. (2016). Development of Reading Promotion Activities Model to Enhance
Reading Habit and Life Skill: Health Mind and Body for Early Childhood. SDU
research Journal of Humanities and Social Sciences, 12(3), 95-111. (in Thai)
Passanawuttichok, J. (2010). Teachers’ Roles and Responsibilities. Retrieved July 30, 2015,
from http://www.learners.in.th/blogs/posts/421904. (in Thai)
Phengsrikhot, S. & Maputh, J. (2011). Parentak Participation Model in Early Childhood
Education Management. Journal of Education and Social Development, 7(1),
68-82. (in Thai)
Soonthorndhada, K & Tejagupta, C. (2001). Forms and Systems of Quality Child Care
Services in Thailand: An In-depth Case Study. Nakhon Pathom: Mahidol
University. (in Thai)
Srivatananukulkit, C. (1999). Nurseries: Situation, Problems, and Factors Affecting to Their
Services. Chiangmai: The Social Research Institute. (in Thai)
Tepparatana, S. (2014). The Study of Caregivers and Community Participation about
Childcare Factors to Promotion of Child Growth and Development on the
Regional Health Promotion Center 4 th and 5 th. Mother and Child Heath
Promotion Center of Rachaburi: Department of Health Ministry of Public Health.
(in Thai)
Tiemtad, K. (2015). Learning Experience of Early Childhood in Matthayomsathukarnwittaya
school. SDU research Journal of Humanities and Social Sciences, 10(2), 1-18.
(in Thai)

Downloads

Published

2018-04-02

How to Cite

ศิริปริชยากร ร. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครนายกตามการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการ. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 14(1), 91–109. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186391

Issue

Section

Original Articles