การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในขั้นตอนวิธีการหารยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Authors

  • ดร.อรรถศาสน์ นิมิตรพันธ์

Keywords:

มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์, ขั้นตอนวิธีการหารยาว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในขั้นตอน
วิธีการหารยาวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนดุสิต ที่เรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหารที่ตัวหารไม่เกินสามหลัก ในภาค
การศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบทางคณิตศาสตร์
เรื่อง การหารยาวที่ตัวหารมีหนึ่งหลัก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัย พบว่า นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในขั้นตอน
วิธีการหารยาวที่ตัวหารมีหนึ่งหลักมากที่สุดในลักษณะที่เมื่อการหารในบางหลักได้ผลลัพธ์เป็นศูนย์ นักเรียน
จะไม่ใส่ศูนย์เป็นตัวยึดหลัก ก่อนจะหารในหลักต่อไป ซึ่งมีจำนวนถึง 19 คน คิดเป็นร้อยละ 25.33
ของจำนวนนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย รองลงมา นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์
ในขั้นตอนวิธีการหารยาวที่ตัวหารมีหนึ่งหลักในลักษณะที่การหารที่ตัวตั้งมีเลขโดดในบางหลักเป็นศูนย์
นักเรียนจะดำเนินการโดยข้ามหลักที่เป็นศูนย์ แล้วคิดคำนวณการหารในหลักต่อไปแล้วใส่ผลที่ได้จาก
การหารในหลักต่อไปโดยไม่คำนึงว่าเมื่อหารในหลักใดจะต้องใส่ผลหารให้ตรงกับหลักนั้นของตัวตั้ง ซึ่งมี

จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ของจำนวนนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ พบว่า นักเรียนกลุ่ม
เป้าหมายมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในขั้นตอนวิธีการหารยาวที่ตัวหารมีหนึ่งหลัก ทั้งสอง
ลักษณะร่วมกัน จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 18.67 ของจำนวนนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย

References

Angganapattarakajorn, V. (2003). A Synthesis of Research on Misconceptions in
Mathematics. (Master’ s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)
Baker, M. & Chick, H. L. (2006). Pedagogical Content Knowledge for Teaching Primary:
A Case Study of Two Teachers. In Identities, Cultures and Learning Spaces
(Proceedings of the 29th Annual Conference of the Mathematics Education
Research Group of Australasia). Grootenboer, P.; Zevenbergen, R. & Chinnappan,
M. pp. 139-146. Sydney: MERGA. Photocopied.
Makanong, A. (2014). Mathematics for Secondary Teachers. Bangkok: Chulalongkorn
University. (in Thai)
Ministry of Education. (2009). Indicators and Core Content of the Mathematics Learning
Area in accordance with the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D.
2008). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. (in Thai)
Sujiva, S. (1995). The Development of Diagnostic Method for Detecting Mathematical
Misconceptions. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2009). Teacher
Training Program with Remote Systems of the Mathematics Learning Area in
Elementary Level (The Second-Year Curriculum Standards and Teacher Training).
Bangkok: Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and
Education Personnel. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Professional
Mathematics Teachers The Path to Success. Bangkok: 3Q-Media. (in Thai)

Downloads

Published

2016-08-30

How to Cite

นิมิตรพันธ์ ด. (2016). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในขั้นตอนวิธีการหารยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 12(2), 177–189. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186385

Issue

Section

Original Articles