การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ชมงานแสดงสินค้า และอิทธิพลของลักษณะบุคลิกภาพ และการติดต่อสื่อสารของผู้นำในงานแสดงสินค้าที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กร: กรณีศึกษาผู้เข้าชมงานแสดงสินค้ามอเตอร์โชว
Keywords:
ลักษณะบุคลิกภาพ, การติดต่อสื่อสาร, ภาพลักษณ์องค์กรAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ชมงานแสดงสินค้า 2) อิทธิพลของลักษณะบุคลิกภาพของผู้นำเสนอสินค้า และ 3) อิทธิพลของการติดต่อสื่อสารของผู้นำเสนอ สินค้าที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กร: กรณีศึกษาผู้เข้าชมงานแสดงสินค้าบางกอกมอเตอร์โชว์ โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากอาจารย์ปรึกษา และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีของครอนบาร์คกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้ระดับความเชื่อมั่น 0.855 และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกกับผู้เข้าชมงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2016 (Bangkok International Motor Show 2016) จำนวน 400 คน ส่วนวิธีการทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และ สถิติหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และเหตุผลในการเข้าชมงานส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กร: กรณีศึกษาผู้เข้าชมงานแสดงสินค้ามอเตอร์โชว์ ในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า อิทธิพลของลักษณะบุคลิกภาพ และการติดต่อสื่อสารของผู้นำเสนอสินค้าส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กร: กรณีศึกษาผู้เข้าชมงานแสดงสินค้ามอเตอร์โชว์ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
กล้าหาญ ณ น่าน. (2557). อิทธิพลของคุณลักษณะบุคลิกภาพ และความพึงพอใจที่มีต่อการปรับตัว
ในการทำงานของผู้เข้าสู่ตลาดบัณฑิตใหม่. Journal of Management Sciences, 31(1), 39-67.
บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์. (2559). บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 36. จาก
http://www.bangkokmotorshowgroup.com/bangkokmotorshow36/
update_news_511.php.
จินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2559), ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ทันสื่อโฆษณากับพฤติกรรมบริโภคนิยม
ของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,
11(1), 93-112.
จริญพร หาญพยัคฆ์. (2554). ภาพลักษณ์และความพึงพอใจในการใช้บริการร้านค้าบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น
จำกัด (มหาชน) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ฐาปะนะ วงษ์สาธิตศาสตร์. (2557). วาทนิเทศเพื่อการขาย = Speech communication for selling.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิภาพร พวงมี. (2554). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพยาบาล โรงพยาบาล
มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปราการ รอดปรีชา และศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2559), บุคลิกภาพ ความสามารถทางเชาว์อารมณ์ จิตวิญญาณ
การให้บริการ และแรงจูงใจในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำงานของ
พนักงานโรงแรมขนาดกลาง ในเขตกรุงเทพมหานคร วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์, 11(3), 47-64.
พัฒนพงษ์ นาชัยลาน. (2557). การรับรู้ภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมกับความภักดีในตราของ
ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน). วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,
10(1), 223-238.
พันธิวา ชูศรีโสม และณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2555). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารและความพึงพอใจใน
การสื่อสารของข้าราชการทหารกรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก. การประชุมวิชาการแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9.
วาริศา ทวีทรัพย์อัมพร. (2552). การสื่อสารการตลาดผ่านพริตตี้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรีรัตน์ สิทธิ เชาว์ โรจนแสง และประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช. (2555). การสื่อสารทางการตลาดที่มีต่อ
พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลของผู้บริโภค
ในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช ครั้งที่ 2
ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2544). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2549). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
ศรีสุนันท์ อนุจรพันธ์ และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2554). พฤติกรรมด้านการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผล
ต่อความพึงพอของพนักงานซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร กรณีศึกษา บริษัท บิซิเนส ออนไลน์
จำกัด (มหาชน). วารสาร การเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 1(2), 147-161.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฏี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรอุษา ขนอนกุล และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของยี่ห้อรถยนต์ (ค่ายญี่ปุ่น)
ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสาร การเงิน การลงทุน การตลาดและ
การบริหารธุรกิจ, 3(1), 313-330.
Holland, J.L. (1973). Making vocational choice: A theory of career. New Jersey: Prentice
Hall.
Translated Thai References
Anujornphan, S., & Khongsawatkiat, K. (2011). A study of behavior of organization
communications that effecting to employees satisfaction and leads to the
organization development case study: Business online public company limited.
Journal of Finance, Investment, Marketing, and Business Management, 1(2),
147-161. (in Thai)
Bangkok Motor Show Group. (2016). Bangkok International Moto Show 36th. Retrieved
September 3, 2016, from http://www.bangkokmotorshowgroup.com/
bangkokmotorshow36/update_news_511.php. (in Thai)
Chusrisom, P., & Wijitjammaree, N. (2012). The Study of Communication Behavior and
Communication Gratification Among Military Officials of The Department of
Communications, Royal Thai Army. (in Thai)
Hanpayak, C. (2011). Corporate Image and Customer’s Satisfaction towards True
Corporation Public Company Limited’s Retail Stores. (in Thai)
Kaokangwang, S. (2001). Personality psychology theories. Bangkok: Moo Chao Ban
Publishing. (in Thai)
Khanonkul, O., & Khongsawatkiat, K. (2013). The image of automobile brand (Japanese
automobile brand) of consumers in Bangkok metropolitan region. Journal of
Finance, Investment, Marketing, and Business Management, 3(1), 313-330.
(in Thai)
Nachailan, P. (2014). Perception image customer’s per corporate social responsibilities
(CSR) between brand loyalty of The Siam Commercial Bank Public Co., Ltd. SDU
Research Journal Humanities and Social Sciences, 10(1), 223-237. (in Thai)
Na-Nan, K. (2014). Influence of personality characteristics, and job satisfaction on work
adjustment of new graduates. Journal of Management Sciences, 31(1), 39-67.
(in Thai)
Puangmee, N. (2011). Big Five Factor, Perceive Organizational Culture of Nurses in a
University Hospital (master’s thesis). Bangkok: Thammasat University.
Rodpreecha, P., & Sarirat, P. (2016). Personality, emotional intelligence, service mind and
motivation related to, performance success of medium size hotels’ employees in
Bangkok metropolis. SDU Research Journal Humanities and Social Sciences,
11(3), 47-64. (in Thai)
Sareeratana, S. (2006). Marketing research. Bangkok: Pimluck Publishing. (in Thai)
Saridvanich, S. (2006). Modern organizational behavior: Concept and theories. Bangkok:
Thammasat University Press. (in Thai)
Sitth, V., Rojanasang, C., & Pongthanapanich, P. (2012). Marketing Communication to
Influencing International Standard Energy Economy Car Buying Decision Behavior
of Consumers in Bangkok Metropolis. (in Thai)
Tansuwannond, C. (2016). The relationship between advertising media literacy and
consumerism behavior of youth in Bangkok. SDU Research Journal Humanities
and Social Sciences, 11(1), 93-112. (in Thai)
Thaweesupamporn, V. (2009). Integrated Marketing Communication through Pretty
(master’s thesis). Bangkok: Thammasat University. (in Thai)
Wongsathitsat, T. (2014). Speech communication for selling. (master’s thesis). Bangkok:
Ramkhamhaeng University Press. (in Thai)