การออกแบบลูกไม้เซรามิกจากเครื่องแต่งกายสตรีไทยสมัยรัชกาลที่ 5 – รัชกาลที่ 7**

Authors

  • สุขุมาล เล็กสวัสดิ์

Keywords:

ลูกไม้, เซรามิก, ฝ้าย

Abstract

 งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเซรามิก ให้มีเอกลักษณ์ เชิดชูวัฒนธรรมการแต่งกายและสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบได้โดยคำนึงถึงการลดต้นทุน การผลิต การออกแบบพัฒนาจากเครื่องแต่งกายสตรีไทยช่วงรัชกาลที่ 5 – รัชกาลที่ 7 ซึ่งใช้ลูกไม้เป็น วัสดุหลัก และมีอิทธิพลตะวันตกแต่สามารถนำมาดัดแปลงเป็นงานเซรามิกร่วมสมัยที่คงเอกลักษณ์ ความเป็นไทยได้ ในการพัฒนาต้นแบบนั้น ปัจจัยสำคัญคือ การประหยัดค่าใช้จ่าย พลังงานและเวลา ซึ่งเป็น ประโยชน์ในการปรับใช้ในระดับการผลิตเชิงพาณิชย์ ผลการวิจัยได้กระบวนการออกแบบโดยเริ่มจาก การวิเคราะห์ภาพรวมของเครื่องแต่งกายเพื่อให้ได้โครงสร้างหลักมาผนวกกับประเภทของภาชนะจาก การวิเคราะห์พระราชนิยมและสถานการณ์แล้วนำมาประกอบกับอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเป็นภาพรวมใน การออกแบบทั้งหมด นอกจากการออกแบบแล้ว ผลการค้นคว้าเทคนิคและวัสดุพบว่า เนื้อดินที่เหมาะสมกับ การทำลูกไม้เซรามิกคือ พอร์ซเลน การใช้ผ้าลูกไม้เนื้อฝ้ายจะเหมาะสมที่สุด การใช้น้ำสลิปผสมน้ำส้มสายชู หรือผสมโคล่าทา ทำให้ลดการแตกร้าวของเนื้อดินบนผิวลูกไม้ การเคลือบผลงานหลังจากเนื้อดินแห้งสนิท โดยการเผาครั้งเดียวจะแก้ปัญหาเรื่องผลงานเปราะแตกขณะเคลือบหลังการเผาดิบได้ ซึ่งประหยัดต้นทุน พลังงานและเวลาในกระบวนการผลิต

References

กรรณิการ์ ตันประเสริฐ. (2553). พระราชวังพญาไท ในวันวารห้าแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: มติชน.
เทพชู ทับทอง. (2544). กรุงเทพฯ ในอดีต. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
จงจิตรถนอม ดิศกุล, ม.จ. (2522). บันทึกความทรงจำ. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์.
ลดา พันธุ์สุขุมธนา. (2546). ลูกไม้เซรามิก (รายงานผลงานวิจัย). กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิจัย
และพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
พูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ. (2533). สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: สารมวลชน.
วรรณพร บุญญาสถิตย์. (2549). จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรม
ตะวันตก กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
สุประภาดา เกษมสันต์, ท่านผู้หญิง.(บก.). (2535). นารีเรืองนามในพระราชอนุสรณ์. ม.ป.พ.
Reocities. (1991). เครื่องกระเบื้อง 1. สืบค้น 10 สิงหาคม 2556, จาก http://reocities.com/ Athens/
Troy/1991/ Viman445.htm.
Habu, A., & Rooney, D. F. (2013). Royal Porcelain from Siam Unpacking the Ring Collection.
Oslo: Hermes
Translated Thai References
Boonyasathit, W. (2006). The Princesses of Siam in the reign of King Rama IV- Rama VI with
the flow of Western culture. Bangkok: Sangsanbooks. (in Thai)
Diskul, J. (1979). Memoirs. Bangkok: Watcharinpress. (in Thai)
Diskul. (1990). What I see. Bangkok: Sarnmuanchol. (in Thai)
Kasemsan, S. (Ed.). (1992). Famous ladies in the royal remembrance. N.P. (in Thai)
Phansukhumthana, L. (2003). Lace ceramic. (Research report). Bangkok: Research and
Development Group, Research and Ceramic Industries Development Center,
Department of Science Service, Ministry of Science and Technology. (in Thai)
Reocities. (1991). Porcelain 1. Retrieved August 10, 2013, from http://reocities.com/Athens/
Troy/1991/ Viman445.htm (in Thai)
Tanprasert, K. (2010). Phayathai palace in the past of five reigns. Bangkok: Matichon.
(in Thai)
Tubthong, T. (2001). Bangkok in the past. Bangkok: Sukkhapabjai. (in Thai)

Downloads

Published

2019-04-30

How to Cite

เล็กสวัสดิ์ ส. (2019). การออกแบบลูกไม้เซรามิกจากเครื่องแต่งกายสตรีไทยสมัยรัชกาลที่ 5 – รัชกาลที่ 7**. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 14(1), 1–19. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186335