ความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุลากรสายปฏิบัติการเพื่อรองรับ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

ิสุภาภรณ์ จ จงจอหอ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการ และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการเพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปริมณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำนวน 356 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้บริหาร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ประกอบการอภิปรายผล ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการเพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการเพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญได้แก่ ปัจจัยด้านการสนับสนุน ปัจจัยด้านยด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ปัจจัยด้านด้านบรรยากาศสร้างสรรค์ และปัจจัยด้านการสร้างแรงเสริมการทำงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 1.552 .703 .422 และ .410 ตามลำดับ และ (3) แนวทางการพัฒนาความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุลากรสายปฏิบัติการ ได้แก่ การจัดการนวัตกรรมการพัฒนาองค์กรที่เน้นกระบวนการการพัฒนาความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุคลากร กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมของสมาชิกในองค์กรใช้นวัตกรรมที่เป็นรูปแบบการพัฒนาความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุคลากรสมรรถนะสูง และการพัฒนาศักยภาพบุคคลและทีมงานอย่างต่อเนื่องจะเป็นการพัฒนาความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุคลากรมีคุณค่า สร้างแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุคลากรให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
จงจอหอ ิ. จ. (2024). ความสำเร็จในการนำนวัตกรรมพัฒนาบุลากรสายปฏิบัติการเพื่อรองรับ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 9(3), 219–228. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/279607
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด. สามลดา.

ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี, ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์. (2564). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล สำหรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 4(2), 1-16.

บุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2566). นวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่โคกหนองนาโมเดลในจังหวัดอุดรธานี. วารสารสหศาสตร์การพัฒนาสังค., 1(5), 1-13.

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2564). แนวทางการสร้างนวัตกรรมในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 15(1), 516 – 528.

รวิภา ธรรมโชติ. (2558). นวัตกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 3(1), 70-84.

วันทนา ธงฉิมพลี. (2560). นวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ภาษาอังกฤษ

Buasri N. and Araksomboon P. (2021). Development of an Innovative Model of Human Resource Management in the Digital Age for the Eastern Special Development Zone. Journal of Mani Chettharam, Wat Chommani, 4(2), 1-16.

Sitthiwongsa B. (2023). Innovation for Community Quality of Life Development Based on the New Theory of Khok Nong Na Model in Udon Thani Province. Journal of Interdisciplinary Social Development, 1(5), 1-13.

Thammawiriyawong P. (2021). Guidelines for Creating Innovation in Human Resource Management. Journal of Dusit Thani College. 15(1), 516 – 528.

Thammachote R. (2015). Innovation in Human Resource Management. Journal of Innovation in Public and Private Sector Management. 3(1), 70-84.

Thongchimphli W. (2017). Innovation in Human Resource Management. Master of Education Thesis, Curriculum and Instruction Program. Chaiyaphum Rajabhat University.

Wanichbancha K. (2017). Advanced Statistics Analysis with SPSS for Windows. 12th ed. Bangkok: Samlada Partnership.