แนวทางพัฒนาการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานการณ์วิถีการเรียนรู้ใหม่ ของสถานศึกษาอำเภอทรายทองวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ3) หาแนวทางพัฒนาการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานการณ์วิถีการเรียนรู้ใหม่ ของสถานศึกษาอำเภอทรายทองวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้บริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 97 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปวนทางเดียว ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ และจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในภาพรวมส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก สภาพการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมนักเรียนลูกเสือเนตรนารีและปัญหาการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานการณ์วิถีการเรียนรู้ใหม่ พบว่า ด้านที่มีปัญหาในภาพรวมมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว 2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความสามารถในการเทคโนโลยีเพื่อประสานงานการสร้างเครือข่ายภาคี ควรร่วมกำหนดทิศทางหรือแนวทางการจัดกิจกรรม และควรใช้เทคโนโลยีและวิธีการที่หลากหลายในการนิเทศติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
คณิศร์ จับจิตต์. (2559). แนวทางการส่งเสริมงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
จีรนาถ ภูริเศวตกำจร. (2565). การบริหารงานวิชาการด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.
ปณิตา บัวเจริญ. (2564). การบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภรัณยู พีระพงษ์. (2559). การบริหารกิจกรรมชุมนุมของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิภาพ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิเชียร รุ่งทวีชัย. (2556). กระบวนการบริหารกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สายฟ้า สีหาสุข. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพรรณี บุญจูง. (2558). สภาพการบริหารงานกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุภัชชา เอียดมุสิก. (2565). การส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560) แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). โควิด-19 กับการถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566, จาก https://www.starfishlabz.com/blog/.
ภาษาอังกฤษ
Aedmusik S. (2022). Promoting student development activities of educational institution administrators Office affiliation Phatthalung Primary Educational Service Area 2. Journal of Liberal Arts Prince of Songkla University. 6(3): 415-422.
Basic Education, Office of the Commission. (2017). Guidelines for organizing student development activities According to the core curriculum Basic Education, B.E. 2008. 3rd edition. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.
Bonjung, S. (2015). Conditions of administration of social and public benefit activities of educational institutions Under the jurisdiction of the Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office, Area 2. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University. 11(2): 115-122.
Buajareun, P. (2021). Guidance administration of secondary basic educational institutionsin Bangkok. Suthiparithat. Journal of Business and Innovation. 17(1): 131-144.
JubJit, K. (2016). Guidelines for promoting guidance work In schools, educational opportunities are expanded in Under the jurisdiction of the Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office, Area 1. Journal of Humanities and Social Sciences, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. 10(3): 210-224.
Ministry of Education. (2017). Basic Education Core Curriculum, 2008 Buddhist Era. Bangkok: Office of Academic Affairs and Educational Standards.
Ministry of Education. (2019). National Education Act. Bangkok: Ministry of Education.
Phurisawetkumjone, G. (2022). Academic administration in student development activities The Secondary Educational Service Area Office 31. Research Community and Social Development Journal. 5(2): 134-148.
Paranyu Peeraphong. (2016). Effective management of student gathering activities in secondary schools. Master of Education Thesis Field of Study: Educational Administration Graduate School Silpakorn University.
Rungthaweechai W. (2013). Process of managing scout activities in schools to expand educa tional opportunities. Nakhon Pathom Province. Master of Education Thesis Field of Study: Educational Administration Graduate School Silpakorn University.
Seehasuk, S. (2020). Development of guidelines for managing Boy and Girl Scout activities In educational institutions under the Buriram Primary Educational Service Area Office, Area 4. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University. 12(1): 73-86.