แนวทางพัฒนาการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนมัธยมประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนมัธยมประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน
ผลการวิจัยพบว่า:
1) สภาพและปัญหาการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนมัธยมประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 1.1) สภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนมัธยมประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.2) ปัญหาการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนมัธยมประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ส่วนใหญ่โรงเรียนขาดการวางแผนและบุคลาการขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับชุมชนและขาดการประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนมัธยมประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จำแนกตามประสบการณ์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนมัธยมประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย คือ ผู้บริหารต้องมีการตั้งนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับชุมชนอย่างชัดเจน มีการให้ความรู้บุคลากรในสถานศึกษาให้เข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน มีการดำเนินการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาในชุมชน และโรงเรียนควรใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการวิเคราะห์และสะท้อนผลการทำงานร่วมกันของโรงเรียนและชุมชน จัดให้มีการประชุมร่วมกันของโรงเรียน มูลนิธิ สมาคม หน่วยงานอื่น ๆ และชุมชน เพื่อให้มีความเข้าใจร่วมกันและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
วาสนา ชูแสง. (2557). การดำเนินงานการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยสาส์น จำกัด.
จริยพร แตงขุด. (2564) แนวทางการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตาม หลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภาษาอังกฤษ
Krejcie, R.V., & Morghan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 608.
Chuesang W. (2014). The Operation of Building Relationships between Schools and Communities of Schools under the Office of Rat Burana District, Bangkok. Master of Education Thesis in Educational Administration. Graduate School: Thonburi Rajabhat University.
Puangsomjit C. (2017). Building Relationships between Schools and Communities. Department of Educational Administration, Sukhothai Thammathirat Open University.
Srisat B. (2017). Preliminary Research, New Edition. 10th ed. Bangkok: Suwiriyasan Company Limited.
Taengkhud C. (2021). Guidelines for School-Community Relations Management According to the 4 Social Objects of Special Education Center, Network 7. Master of Education Degree in Buddhist Educational Administration. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.