การประยุกต์ใช้นวัตกรรมสื่อสมัยใหม่เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านอีสาน

Main Article Content

สงวน หล้าโพนทัน
พระใบฎีกานรินทร์ สีลเตโช
สนั่น ประเสริฐ

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านอีสาน (2) เพื่อผลิตและประยุกต์ใช้นวัตกรรมสื่อสมัยใหม่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านอีสาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุมชน 4 จังหวัด กลุ่มตัวอย่าง 40 รูป/คน, เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม, เก็บรวมรวมข้อมูลเอกสารจากพระไตรปิฎก เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม, วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาความ


         ผลการวิจัย พบว่า การใช้ปัญญาของตัวละครในนิทานเรื่องสุวรรณสังข์กุมาร เช่น พระมารดาของพระสังข์แอบซุ่มดูคนทำความสะอาดบ้านและทำลายหอยสังข์ เพื่อไม่ให้พระสังข์มีที่ซ่อนอีกต่อไป, การแสดงความเคารพในนิทานเรื่องอุรังคธาตุ เช่น พระมหากัสสปเถระพร้อมพระอรหันต์ 500 ท่าน ได้อัญเชิญอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานที่ภูลังกาเพื่อให้พุทธบริษัทรวมทั้งเทวดาทั้งหลายได้เคารพสักการะบูชา, การให้อภัยในนิทานเรื่องนางสิบสอง เช่น ท้าวรถสิทธิ์ให้อภัยนางสันทะมาลา, การปกครองที่ปรากฏในนิทานเรื่องพระยาคันคาก เช่น พระยาคันคากยกไพ่พลขึ้นไปรบกับพระยาแถนเพื่อให้พระยาแถนปล่อยฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ส่วนการปกครองตามหลักพระพุทธศาสนาในนิทานเรื่องเสียวสวาสดิ์คือ การใช้ปัญญาและคุณธรรมในการทำงานของท้าวเสียวสวาสดิ์, กิจกรรมเกี่ยวกับการใช้ปัญญาไตร่ตรอง คือ กิจกรรม How to (การแก้ปัญหา), กิจกรรมเกี่ยวกับความเคารพผู้อื่น ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นพลเมือง, กิจกรรมเกี่ยวกับการให้อภัย 3 กิจกรรม เช่น การทำงานเป็นทีม เป็นต้น กิจกรรมเกี่ยวกับการปกครองตามหลักพระพุทธศาสนา เช่น การเลือก สส. เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). คู่มือแนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. ขอนแก่น: กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

คมสินธุ์ ต้นสีนนท์. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักโยนิโสมนสิการในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี ตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จุรี สายจันเจียม. (2558). พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางรัฐศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1), 398-401.

นางพจนีย์ เพ็งเปลี่ยน. (2532). การศึกษาวรรณกรรมอีสานเรื่องสุวรรณสังข์กุมาร. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระธีทัต กิตฺติวณฺโณ. (2560). ศึกษาการเสริมสร้างพฤติกรรมการแสดงการเคารพของเยาวชนบ้านศิริพร ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์. 1(2), 1-12.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.. (2553). อภัยทานกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566, จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/453.

พิเชฐ ทั่งโต และคณะ. (2553). การศึกษาวิเคราะหรัฐศาสตรเชิงพุทธในมุมมองของนักวิชาการดานรัฐศาสตรในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บันเทิง พาพิจิตร. (2557). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พุทธินันทน์ บุญเรือง. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจของชุมชนชายแดนต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : การเกิดขึ้นของจุดผ่านแดนถาวรช่องภูดู่และการตอบสนองของคนท้องถิ่นในอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 4(1), 1-21.

มนตรี โคตรคันทา. (2565). นิทานท้าวเสียวสวาสดิ์. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566, จาก https:// www.isangate.com/new/9-word/849-siew-sawad.html.

วิภาพรรณ พินลา. (2559). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษา เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับผู้เรียนยุคศตวรรษที่ 21. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 12(1), 20-34.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2558). โสวัฒนธรรมอีสาน. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โสรัจ นามอ่อน และคณะ. (2551). การวิเคราะห์อิทธิพลนิทานพื้นบ้านจากหนังสือใบลานอักษรธรรมอีสาน ในจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ม.ป.ป.). พระไตรรัตน์ในอีสาน วรรณกรรมพระพุทธศาสนา 50 เรื่อง. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566, จาก https://cackku.wixsite.com/phratrairat2/copy-of-35.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559). พญาคันคาก นิทานชาวบ้านลาว-ไทย เรื่องคางคกยกรบขอฝน. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566, https://www.matichonweekly.com/scoop/article_9785.

อธิราชย์ นันขันตี. (2563). นิทานอุรังคธาตุ. อุบลราชธานี: หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.

Enright, R. D. (2008). Forgiveness is a Choice. Washington, DC.: APA Life Tools.