การใช้บาตรของพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูบวรวารีพิทักษ์
ไพฑูรย์ สวนมะไฟ
ธนกร ดรกมลกานต์

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ การใช้บาตรของพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าได้ทรงวางบทบัญญัติเกี่ยวกับการใช้บาตรในพระพุทธศาสนาเถรวาทไว้ดังนี้ (1) การใช้บาตรเพื่อรับปัจจัยสี่ (2) พระอุปัชฌาย์บอกการใช้บาตรแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ว่าเป็นกิจวัตร (3) การใช้บาตรเป็นส่วนหนึ่งของพุทธกิจและ (4) การใช้บาตรในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของธุดงควัตร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยเรื่องบาตรไว้หลายข้อ เช่นพระภิกษุไม่ควรแสวงหาบาตรนอกจาก บาตรนอกอธิษฐานไม่ควรขายบาตรหรือตั้งร้านขายบาตรและห้ามสะสมบาตร ส่วนการสละบาตรมี 3 ลักษณะ คือ ต้องสละแก่สงฆ์ ต้องสละแก่คณะ และ ต้องสละแก่บุคคล หากภิกษุต้องการขอบาตร ใหม่ควรได้รับอนุญาตจากพระภิกษุผู้ผ่านการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ก่อน และพระภิกษุรูปนั้นควรมี ความรู้รอบเรื่องพระธรรมวินัย เป็นผู้ฉลาด กอปรด้วยคุณสมบัติ 5 อย่าง คือ (1) ต้องไม่ลำเอียง เพราะชอบ (2) ต้องไม่ลำเอียงเพราะชัง (3) ต้องไม่ลำเอียงเพราะหลง (4) ต้องไม่ลำเอียงเพราะกลัว และ (5) รู้จักวิธีว่าสมควรเปลี่ยนหรือไม่สมควรเปลี่ยน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต).(2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุริยนต์ทสฺสนีโย (น้อยสงวน). (2554). การศึกษาวิเคราะห์บิณฑบาตในฐานะเป็นเครื่องมือหนุนชีวิต และกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อิสระพงษ์ พลธานี.(ม.ป.ป.). บ้านบาตร ภูมิปัญญาที่กำลังจะหายไปจากสังคมไทย, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2546).พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

นายวีรพล พิชนาหะรี. (2560). ศึกษาการใช้บาตรในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. (2550) การศึกษาการอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระวิจิตร ฐานุตฺตโร (เกิดไผ่ล้อม). (2551). วิเคราะห์การใช้บริขารของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุริยนต์ ทสฺสนีโย (น้อยสงวน). (2554). การศึกษาวิเคราะห์ บิณฑบาตในฐานะเป็นเครื่องมือหนุน ชีวิตและกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณาจารย์เลี่ยงเซียง.(2547) พุทธประวัติ ฉบับมาตรฐาน, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง.

วิเชียร มีผลกิจและสุรีย์ มีผลกิจ. (2543). พระพุทธกิจ 45 พรรษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทคอมฟอร์ม จำกัด.

รสนา โตสิตระกูล แปล. (2528). ติช นัท ฮันห์ เขียน, เดิน วิถีแห่งสติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พุทธทาสภิกขุ. (2529). พุทธทาสกับสวนโมกข์ ประวัติการท างานของท่านพุทธทาส. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.