คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ภาวินี อนามัย
ฉัตรกุล เอื้อพิพัฒนากูล

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จังหวัดเพชรบุรี  โดยการศึกษาแนวคิดทฤษฏีจากเอกสาร บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมครอบคลุมตามตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยแล้วมากำหนดคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในปีการศึกษา 2566  จำนวน 22 แห่ง และใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งหมด 266 คน  ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จังหวัดเพชรบุรี มี 5 ด้าน 30 ตัวแปร ได้แก่ 1) ด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ จำนวน 11 ตัวแปร  2) ด้านมีวิสัยทัศน์และมองการณ์ไกล จำนวน  9 ตัวแปร  3) ด้านบุคลิกภาพ จำนวน 4 ตัวแปร  4) ด้านทักษะการบริหารจัดการ จำนวน 4 ตัวแปร  5) ด้านความรับผิดชอบ จำนวน 2 ตัวแปร  มีค่าของความแปรปรวนทั้งหมดร้อยละ 68.872  ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยด้านทักษะการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  รองลงมา คือ ด้านวิสัยทัศน์และมองการณ์ไกล ด้านบุคลิกภาพ  ด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้  และด้านความรับผิดชอบตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กิ่งแก้ว ห้วยจันทร์. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในเขตอำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2558). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ในการประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). E-Leadership ผู้นำการศึกษาในยุคดิจิตอล. วารสารวิชาการ. 7(1), 55-62.

เบญจพร สุคนธร. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

พลากร ขุริมนต์ และคณะ. (2561). อนาคตภาพของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2562-2571). วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์. 20(2), 29–40.

ศิริลักษณ์ มีจันโท. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลกัษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สมศักดิ์ เจริญพานิชเสรี. (2558). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในสภาพปัจจุบันและในยุคปฏิรูปการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสำนักงานการ ประถมศึกษาศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาษาอังกฤษ

Charoenpanichseree S. (2015). Characteristics of educational institution administrators in the present condition and in the era of educational reform According to the opinions of educational institution administrators and teachers in the Office of Primary education Suphanburi Province. Master of Education Thesis Burapha University.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers.

Ekakul T. (2000). Research methods in behavioral and social sciences. Ubon Ratchathani Rajabhat Institute.

George Couros. (2010). The 21st Century Principal. Retrieved on 15 September 2019, from http://connectedprincipals.com/archives/1663.

Hair Jr. Et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th Edition. Pearson Education, Upper Saddle.

Khurimon P. et al. (2018). The future outlook for primary school administration using information and communication technology in the next decade (2019-2028). Journal of Humanities and Social Sciences Surin Rajabhat University. 20(2), 29–40.

Huaichan K. (2017). Desired characteristics of educational institution administrators according to the views of teachers in Sriracha District Under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office 18. Master's Thesis, Burapha University.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Meechantho S. (2017). A study of the relationship between the characteristics of educational institution administrators and being a learning organization of educational institutions. Under the jurisdiction of the Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office, Area 1. Master's degree thesis. Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.

Phaphan C. (2015). Modern educational institution administrators in the 21st century. 1st National Academic Conference on Education. Educational management for local development towards the ASEAN community: new directions in the 21st century. Khon Kaen: Khon Kaen University. .

________. (2016). Basic concepts and theories of leadership Leadership of educational institution administrators in the 21st century. At the 1st National Academic Conference on Education. Educational management for local development towards the ASEAN community: new directions in the 21st century. Kalasin: Kalasin University.

Runcharoen T. (2014). E-Leadership: Educational leadership in the digital age. Academic Journal. 7(1), 55-62.

Sukhonthorn B. (2022). The role of educational institution administrators in promoting online teaching and learning Under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office Bangkok, District 2. Master's degree thesis. Krirk University.