การบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Main Article Content

ธงชัย ขุนาพรม
พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยแบ่งเป็น ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล


              ผลการวิจัยพบว่า:


              1) การบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุดได้ แก่ การนิเทศการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้


              2) การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง และระดับการศึกษา พบว่าผู้บริหารและครูมีระดับความคิดเห็นต่อการบริหารวิชาการทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน มีการบริหารงานวิชาการโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา และการนิเทศการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน


              3) แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 (1) ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดปฏิทินการดำเนินการวัดผลและประเมินผลให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในภาพรวมโดยแจ้งให้คณะครูทราบร่วมกัน (2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบงานหลักสูตรสถานศึกษา (3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอนให้มียืดหยุ่นตามความสนใจความถนัดของผู้เรียน (4) ด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อช่วยให้การสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ (5) ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนควรมีการจัดนิเทศภายในอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้งเพื่อให้คำปรึกษาช่วยเหลือในการจัดการเรียนการสอน (6) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรปรับปรุงเครือข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต สนับสนุนการค้นคว้าออนไลน์ ห้องคอมพิวเตอร์ รวมถึงจัดหาคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงติดตั้งในห้องเรียนสำหรับครูผู้สอนเพื่อให้ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Achinsamajarn C. 2004. New teaching supervision. Bangkok: Chongcharoen Printing.

Campbell J.P. and Beaty E.E. (1977). On the Nature of Organizational Effectiveness. In New

Perspectives on Organizational Effectiveness. San Francisco: Jossey - Bass Publishers.

Chaemchoi S. (2022). Academic administration that responds to changes in the world in the

era of disruption. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Chanhom A. (2014). Supervision process of administrators of Wat Srinuanthamwimon School,

under Bangkok. Master of Education Thesis Department of Educational Administration.

Graduate School: Silpakorn University.

Kaoian C. (2014). Academic administration techniques in educational institutions, strategies

and guidelines for professional administrators. 2nd printing. Songkhla: Printing suburbs.

Kasikun T. (2017). Academic administration of educational institution administrators according

to the opinions of school teachers under Phatthalung Municipality. Phatthalung Province. Phuket Rajabhat University Academic Journal. 13(1), 290-303.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Ministry of Education. (2003). Manual for administration of basic educational institutions that

are juristic persons. Bangkok: Freight Forwarding and Parcel Organization.

Ministry of Education. (2012). Announcement of the Ministry of Education on guidelines for

development and evaluation. The Sufficiency Economy Center is a learning center

based on the philosophy of sufficiency economy in education. Bangkok: Sufficiency

Economy Driving Center.

Rueangmontri K. and Namwan T. (2011). Academic administration and learning management

innovation. Maha Sarakham: Apichat Printing.

Niamwilai T. (2016). Guidelines for internal supervision of small schools. Under the jurisdiction

of the Educational Service Area OfficeNakhon Sawan Primary Education District 3.

Master’s Degree. Graduate School: Nakhon Sawan Rajabhat University.

Sangphan N. et al. (2016). Administrative conditions of administrators of educational institutions

under the Office of the Promotion of Non-Formal and Informal Education, Ubon Ratchathani Province. Bua Bandit Educational Administration Journal. 16(1), 67-68.

Srisa-at B.. (2017). Preliminary research. New and improved edition. 10 th printing. Bangkok:

Suviriyasan Company Ltd.

Suphankhong S. (2016). Educational supervision of Banharn Jamsai Witthaya School 1. Independent research, M.Ed. Nakhon Pathom : Silpakorn University.

Thiansai P. (2014). Conditions of academic administration at Wat Sawetchat School. Khlong San

District Office Bangkok. Master of Education Thesis. Department of Educational

Administration. Phranakhon Rajabhat University.

Utharanan S. (1987). Supervision of studies in principles of theory and practice. Bangkok: Mit

Siam.