การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนของกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา พระธาตุอุปมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3

Main Article Content

ปกรณ์เกียรติ กะอาจ
กฤตยากร ลดาวัลย์

บทคัดย่อ

         พระธาตุอุปมุงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนของกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาพระธาตุอุปมุง จำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน  3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนของกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาพระธาตุอุปมุง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 92  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนของกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาพระธาตุอุปมุง แบ่งเป็น 3 ตอน มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F- test


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนของกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาพระธาตุอุปมุง โดยรวมอยู่ในระดับมาก  เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง รองลงมาคือ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการรักษาวินัยและการออกจากราชการ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนของกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาพระธาตุอุปมุง จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนของกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาพระธาตุอุปมุง พบว่า ควรให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอสามารถปฏิบัติงานในโรงเรียนได้ถูกต้องชัดเจน ควรแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการสอบสวนความจริงและความยุติธรรม เพื่อป้องกันการกระทำความผิดวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯกระทรวงศึกษาธิการ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2542). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์สือเสริมกรุงเทพฯ.

พักตร์วิภา ทันอินทรอาจ. (2554). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดในกลุ่มเครือข่าย โรงเรียนหนองบ่อ ก้านเหลืองคำพี้ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.

พระเส็ง ปภสฺสโร (วงษ์พันธุ์เสือ). (2555). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ ประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต

. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น. (2562). แนวทางการดําเนินงานการมีส่วนร่วมการ บริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณการเกษตรแห่ง

ประเทศไทยจำกัด.

สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3, (2564). รายงานประจำปี 2564. สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3.

ภาษาอังกฤษ

Brunetto, Y., Teo, S. T. T., Shacklock, K., & Farr Wharton, R. (2012). Emotional intelligence, job satisfaction, well-being and engagement:

Explaining organizational commitment and turnover intentions in policing. Human Resource Management Journal, 22(4), 428–441.

Klinfuang, C. (2000). Relationships between personal factors, job characteristics, organizational climate, and quality of working life of staff

nurses, hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Defense. Master of Nursing Science and Nursing Administration,

Chulalongkorn University.