ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร

Main Article Content

พระธนากร ญาณโมลี
สุรพล พรมกุล
ชาญชัย ฮวดศรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับของพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๒) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๓) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยการประยุกต์ตามหลักพรหมวิหาร ๔ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตอำเภออำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีจำนวน ๓๙๒ คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๔ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท  ผลการวิจัยพบว่า


๑) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง ๕ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านนโยบายการพัฒนา รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติด้านหลักพรหมวิหาร ๔ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการสื่อสาร และด้านจิตวิทยา ตามลำดับ  ๒) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า ด้านบุคลิกภาพ และหลักพรหมวิหาร ๔ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งนี้โดยด้านบุคลิกภาพ มีอิทธิพลเชิงบวก นั่นคือเมื่อบุคลิกภาพของผู้สมัครเพิ่มขึ้น ๑ หน่วย จะทำให้การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเปลี่ยนไป ๐.๒๕ หน่วย ด้านหลักพรหมวิหาร ๔ มีอิทธิพลเชิงบวก นั่นคือเมื่อหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้สมัครเพิ่มขึ้น ๑ หน่วย จะทำให้การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเปลี่ยนไป ๐.๒๔ หน่วย    ๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ของผู้สมัครก่อนที่จะเลือกตั้ง ส่งเสริมการเลือกตั้งโดยการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร ๔ ประกอบการเลือกตั้ง ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ด้านนโยบายการพัฒนา ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลให้มากที่สุดก่อนเลือกตั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.(๒๕๓๙). รายงานการวิจัยการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๓๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

กระมล ทองธรรมชาติ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (๒๕๓๑). การเลือกตั้งพรรคการเมืองและเสถียรภาพของรัฐบาล. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิจัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ควรชิต คนสัน (๒๕๔๘) . ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง. วิทยานิพนธ์สาขารัฐศาสตร์ , บัณฑิตวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เฉลิมพล นุชอุดม และคณะ, “เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนระดับท้องถิ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๒ (๒๕๖๒) : ๓๒-๔๔.

ธนภูมิ โภชน์เกาะ, “ปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต ๕ กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๖๒”, วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ (๒๕๖๕) : ๑๖-๒๘.

นงค์รักษ์ ต้นเคน, “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการลงคะแนนเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม”, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. ๒๕๕๘),หน้า ๒๕-๒๗.

นุชปภาดา ธนวโรดม, “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗), หน้า บทคัดย่อ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), รวมธรรมะ, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด มหาชน, ๒๕๔๓), หน้า ๓๔๑.

พระวัจน์กร กนตวณโณ (พิมล), “ปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๔), หน้า บทคัดย่อ.

พระมหาสุรศักดิ์ สุวณฺณกาโย และคณะ. (๒๕๖๔). การส่งเสริมหลักนิติธรรมในการปกครองของผู้นำท้องถิ่นตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารอุบลปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2021): วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ (พฤษภาคม-สิงหาคม 2564)

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง, “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : กรณีศึกษาประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๖๒”, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง, (วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก, ๒๕๖๑), หน้า ๒๐.

พันตำรวจโทหญิงชุติมา ศิริเมธาวี, “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี : ศึกษาในช่วงเวลา ปี พ.ศ. ๒๕๖๐”, สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง, (วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก, ๒๕๖๐), หน้า บทคัดย่อ.

ยุงยุทธ พงษ์ศรี, “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี : ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. ๒๕๖๒”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง, (วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก, ๒๕๖๑), หน้า บทคัดย่อ.

ลีมาศ แปลงศรี. (๒๕๖๕). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาและผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครพนม.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.บทคัดย่อ.

วิวัฒน์ ดาริเวศน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (กลุ่มวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น) รุ่นที่ ๒๕ ประจำภาค ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔. บทคัดย่อ.

สากล พรหมสถิต. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บุรีรัมย์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

สุจรรย์จิรา ยมลพัทธ์, “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี : ศึกษากรณีเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี”, สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง, (วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก, ๒๕๕๙), หน้า บทคัดย่อ.