การบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2. ศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 320 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ 5 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เอกสาร
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามลำดับ
2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านสมานัตตตา ด้านอัตถจริยา ด้านทาน และด้านปิยวาจา ตามลำดับ
3. แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความช่วยเหลือด้านการปฏิบัติงาน ส่งเสริมและสนับสนุนในการวางแผนงานวิชาการของสถานศึกษา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่พูดส่อเสียด เหน็บแนม หรือคำหยาบคาย ควรพูดชี้แจงอธิบายเหตุผล พูด “ขอบคุณ” เมื่อภารกิจที่ปฏิบัติร่วมกันสำเร็จลุล่วง ยินดีและพร้อมรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษา พัฒนาตนเองในด้านการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด เข้มงวด ตรงต่อเวลา เป็นแบบอย่างที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แนะนำ ส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีความเป็นกลาง ยุติธรรม รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ และข้อเสนอแนะผู้ใต้บังคับบัญชา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
จตุพร ศรีลานคร และคณะ. (2564). การบริหารงานบุคลากรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10(1), 2-18.
นิภาพร เหล่าพรมมา. (2556). การบริหารบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 7 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูไพโรจน์กิจจาทร (สกุล สุภทฺโท). (2563). การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 7(2), 1-13.
พระอนุศิษฏ์ สิริปุญฺโญ. (2557). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอฆ้องชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 1(15), 20-24.
พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (จันเขียด). (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 . (6 มีนาคม 2564). ข้อมูลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564, จาก https://www. loei2.go.th.
Laopromma N.. (2013). Educational Personnel Management of Educational Administrators According to the fourSangahavatthu at the Seventh-Group Ecclesiastical. Thesis Master of Arts degree program Department of Educational Administration. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Loei Primary Educational Service Area Office District 2. (1 June 2021). Educational Service Area Office Information Elementary School District 2, form https://www. loei2.go.th.
Phrakhru Phairotkitchathorn (Sakul Suphatto). Development of educational institution administrators according to Sangahavathu 4 for Primary school under Bangkok. Journal of the Education Perspective. 7(2), 1-13.
Phra Anusit Siripunyo. (2014). Applying the 4 Sangahavattha principles in the personnel management of school administrators in Khong Chai District, under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2. Journal of Mahamakut Wittayalai University Roi Et Campus. 1(15), 20-24.
Phrakhru Praphat Thammaphirak (Chan Khiat). (2018). Administration of educational institutions according to the 4 Sangahavattha principles in basic educational institutions Under the Office of Chaiyaphum Primary Education Area 1. Thesis Master of Arts degree program Department of Educational Administration. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Srilanakorn J.. (2021). Personnel administration according to Sangahavathu 4 principles of educational institute administrators under the Office of Non-Formal and Educational Promotion Friendly in Roi-Et Province. Journal of Mahamakut Wittayalai University Roi Et Campus. 10(1), 12-18.