ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสของกลุ่มคนวัยทำงาน: กรณีศึกษารถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท

Main Article Content

กฤษฏ์ ธวัชชัยวิสุทธิ์
มานะ ลักษมีอรุโณทัย
ชิดตะวัน ชนะกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์ 2) ศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมการเลือกใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส และ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทของกลุ่มคนวัยทำงาน: กรณีศึกษารถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ตลอดจนวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์แบบทวินาม (Binary Logistic Regression)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทของกลุ่มคนวัยทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์ คือ อายุ และระยะเวลาเดินทางจากที่พักอาศัยถึงที่ทำงาน 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเลือกใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส คือ ระยะทางจากที่พักอาศัยถึงสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และประเภทของบัตรโดยสาร และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) คือ
ด้านผลิตภัณฑ์ในเรื่องของความถี่ในการเดินรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้ามีความปลอดภัย ด้านราคาในเรื่องความเหมาะสมกับความรวดเร็ว ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในเรื่องของความสะดวกในการซื้อตั๋วและช่องทางจำหน่ายตั๋ว
ที่หลากหลาย และด้านการส่งเสริมการตลาดในเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์และร้านค้าที่ร่วมโปรโมชั่น

Article Details

How to Cite
ธวัชชัยวิสุทธิ์ ก., ลักษมีอรุโณทัย ม. ., & ชนะกุล ช. . (2023). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสของกลุ่มคนวัยทำงาน: กรณีศึกษารถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 8(1), 121–136. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/261456
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. (2564). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพมหานคร.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน). (2564). รายงานประจำปี 2563/64 (แบบ 56-1 ONE REPORT). กรุงเทพมหานคร.

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2564). รายงานประจำปี 2563-2564. กรุงเทพมหานคร.

ยุวดี วรสิทธิ์. (2559). ปัจจัยด้านคุณภาพบริการ และพฤติกรรมการใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ที่มีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร 13(1): 25-42.

วริศรา เจริญศรี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส. ปริญญาเศรษฐศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิรีธร อินจีน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปรัชญาปริทรรศน์ 23(2): 10-18.

โสภิตา รัตนสมโชค. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (บีทีเอส) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาษาอังกฤษ

Bangkok Mass Transit System Public Company Linmted. (2021). Annual Report 2020-2021. Bangkok.

BTS Group Holdings Public Company Limited. (2021). Annual Report 2020/21 (56-1 ONE REPORT). Bangkok.

Charoensri W.. (2017). Factors Affecting Commuters Decision Making of Using the Bangkok Sky Train. Independent Research Faculty of Economic, Thammasat University.

Cochran, W. G. (1977). Stratified random sampling, Sampling techniques (3rd ed., pp. 89-96). John Wiley & Sons, Inc.

Dewi, A. U. (2010). Research on Factors Affecting Travel Behavior on Choice of Transportation Means for Working Activity a Case Study in Yogyakarta City, Indonesia. Service Science Master Economic Scienced, Communication and IT, Karlstads university.

Injeen S.. (2018). Factors Affecting Decisions Making to use Public Transport in Bangkok. Journal of Philosophical Visio. 23(2), 10-18.

Kotler, P. (2000). Marketing management. New Jersey: Prentice Hall.

Lahouel, S., Yahiaoui, N., and Mekaoussi, S. (2014). The Impact of Service Marketing Mix to Improve Perceived Image of Users of Public Urban Transportation Buses. Case Study: Collective Urban Transport Company (ETUM) in M’Silla City Algeria. British Journal of Marketing Studies. 2(5), 55-66.

Mass Rapid Transit Authority of Thailand. (2021). Annual Report 2021. Bangkok.

Nunnally, J. C. (1978). Statistics: an introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Rattanasomchok S.. (2015). Infuences on Customer Satisfaction with the Bangkok Sky Train in Thailand. Independent Research Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University.

Schiffman & Kanuk. (2007). Perilaku konsumen. Edisi kedua. Jakarta: Pt.Indeks gramedia.

Smithikrai C.. (2014). Consumer Behavior . Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Worasit Y.. (2016). Factor of Service Quality and Passenger Behavior Effecting to Attitudes of Consumers in Bangkok Metropolitan. MUT Journal of Business Administration. 13(1), 25-42.