การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้ง ในอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้งในอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้งในอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนทั่วไปที่มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่นจำนวน 67‚911 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จึงได้กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ f-test วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้งในอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านการให้ความรู้ประชาธิปไตย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.33 รองลงมาได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์การซื้อสิทธิขายเสียง ด้านการให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพ และด้านโทษของการซื้อสิทธิขายเสียง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 4.08 และ 3.71 ตามลำดับ
2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีอายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีส่วนร่วมในการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้ง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ประชาชนที่มี เพศ ระดับการศึกษาและอาชีพต่างกันมีส่วนร่วมในการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้ง ไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
จรัส สุวรรณมาลา. (2550). วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปีที่ 5(3), 83-106.
ชนาถ เจริญรักษ์. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทาโร่ ยามาเนะ. (2516). tatistics: AnIntroductoryAnalysis. นิวยอร์ก: สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์แอนด์โรว์.
ธันยธัช วิพัฒติพราว. (2556). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธีรวัตพล เลารุจิราลัย. (2554). พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นายชัชวาล สุขหล้า. (2562). คู่มือประชาชนเลือกตั้ง อบจ.. กรุงเทพมหานคร; ม.ป.พ..
บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประทาน คงฤทธิศึกษากร. (2535). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
พระมหาประเสริฐศักดิ์ ปุญฺญพฑฺฒโน. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. 5(2): 35-50.
พิภูษณ มากไชย และคณะ. (2559). การประยุกต์ใช้หลักสุจริต 3 ประการ ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. วารสารพุทธสังคมวิทยา. 1(2): 35-54.
โพธิ์คิน ขวาอุ่นหล้าและคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดบึงกาฬ. ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
มนตรี ทองรอด. (2553). การซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่น. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ. (2557). แนวทางการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ตามความคิดเห็นของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 1(2): 64-75.
อัจจิมา ไกรพัน. (2556). การสร้างกรอบโครงความคิดเพื่อการระดมของเครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำนาจ อุ่นทอง. (2555). บทบาทของผู้นำชุมชนในการป้องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง : ศึกษากรณีเฉพาะอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2565). การซื้อสิทธิ์ขายเสียง. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https:// d.facebook.com/SAOwatyangngam/photos/a.396568137113069/3858498060920042 /?type=3& source=48.
ภาษาอังกฤษ
Charoenrat C.. (2013). Public opinion on the performance of Kwian Hak Subdistrict Municipality, Khlung District, Chanthaburi Province. Master of Public Administration Burapha University.
Chayabutr C.. (1996). Thai Local Government. Bangkok: Chulalongkorn University.
Khongrittisuksakon P.. (1992). Local Government. Bangkok: Institute of Development Administration,).
Khwaunla P. et al. (2020). People’s Political Participation in Bueng Kan Province. Doctor of Political Science Thesis Graduate School Pathumthani University.
Krishnaphuti V.. (2014). Guidelines for the prevention of vote buying in elections. according to public opinion in the Northeast. Praewa Kalasin Journal Kalasin Rajabhat University. 1(2), 64-75.
Kraipun A.. (2013). Creating a conceptual framework for mobilization of the Chula Virtue Uplifting Network. Master of Political Science Thesis Graduate School Chulalongkorn University.
Laorujiralai T.. (2011). Political Behavior of People in Song Phi Nong Municipality, Suphan Buri Province. Master of Arts Thesis Department of political science Graduate School Kasetsart University.
Makchai P. et al. (2016). Application of 3 principles of honesty in the performance of police officers at Muang Phuket Police Station. Phuket Province. Journal of Buddhist Sociology. 1(2), 35-54.
Phothisuk. B.. (2016). Public Local Political Participation : A Case Study. Chang Phueak Subdistrict, Mueang District, Chiang Mai Province. Research report Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Maha Prasertsak Punyapatano. (2020). Political Participation of People in Surat Thani Municipality. Buddhamak Journal Dharma Studies Research Center Wat Awut Wiksitaram School. 5(2), 35-50.
Sukla C.. (2019). People’s Handbook for Provincial Administrative Organization Election. P.O.L.T.,
Suwanmala C.. (2007). Local Political Culture in Thailand. Journal of King Prajadhipok’s Institute. 5(3), 83-106.
Thongrod M.. (2010). Vote buying in local elections. Independent study, Master of Public Administration degree Department of Local Administration College of Local Administration Khon Kaen University.
Thinbangtiew O.. (2022). Buying the rights to sell votes. https:// d.facebook.com/SAOwatyangngam/photos/a.396568137113069/3858498060920042 /?type=3& source=48.
Unthong A.. (2012). The role of community leaders in preventing vote buying rights : a specific case study of Wat Sing District. Chainat Province. Master’s thesis Department of Politics and Governance Graduate School Sukhothai Thammathirat Open University.
Wipattipraw T.. (2013). Citizenship in Democratic Systems of Dhurakij Pundit University Students. Research report Dhurakij Pundit University.
Yamane T.. (1973). Tatistics: AnIntroductoryAnalysis. New York: Harper and Row.