การดูแลสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคโควิด 19 ตามหลักภาวนา 4 ในโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการดูแลสุขภาพจิตของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักภาวนา 4 ในโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด โดยผู้ให้ข้อมูลวิจัยเป็นบุคลากรโรงพยาบาลสนาม จำนวน 3 คน พระสงค์ จำนวน 6 รูป การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย การดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการพัฒนากาย การดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการพัฒนาความประพฤติ การดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านพัฒนาจิตและการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการพัฒนาปัญญา
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ดมีความทุกข์ทางกาย คือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และความทุกข์ทางใจผู้เข้ารับการรักษาเกิดจากปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจรวมอยู่ด้วย ปัจจัยทั้งสองประการมีผลต่อสุขภาพจิตใจของผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด แนวคิดการดูแลสุขภาพจิตของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น ด้าน 2 ประกอบด้วย ด้านที่ 1 คือด้านร่างกายประกอบด้วย ตัวผู้ป่วย โรค และ คนรักษา ด้านที่ 2 คือด้านจิตใจ โดยการนำหลักภาวนา 4 ตามหลักพระพุทธศาสนาไปสู่ 3 กลุ่มสำคัญคือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสนาม พระสงฆ์ คนไข้ ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตใจเข้มแข็งมีกำลังใจต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการดูแลสุขภาพจิตใจในโรงพยาบาลสนาม ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก https://goo.by/rZ6Rx.
ตระกูล พุ่มงาม และคณะ. (2564). สุขภาวะแนวพุทธของผู้สูงวัย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 7(1), 467-480.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, อธิการบดี มจร สั่งการให้วิทยาเขตทั่วประเทศร่วมมือรัฐจัดตั้งโรงทาน รพ.สนามดูแลประชาชน. (14 กรกฎาคม 2564). สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก https://www.mcu.ac.th/news/detail/35983.