ระดับการบริหารจัดการตามหลักพุทธธรรมของโรงพยาบาลสนาม วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระพลากร สุมงฺคโล,ดร.

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการตามหลักพุทธธรรมของโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร ได้แก่ ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด    มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 478 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 218 คน ใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ โดยใช้ระดับความเชื่อมั่น 95 % ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 5 % และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนาโดยการหาความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน


             ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการตามหลักพุทธธรรมของโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?x\bar{}= 3.52 S.D. gif.latex?x\bar{}= 0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอัตถจริยา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( gif.latex?x\bar{} = 3.55) รองลงมาคือ ด้านสมานัตตตา ( gif.latex?x\bar{}= 3.54) และด้านปิยวาจา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( gif.latex?x\bar{} = 3.50) ส่วนระดับการบริหารจัดการมิติหลักการพัฒนาการบริหารจัดการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?x\bar{}= 3.53 S.D. = 0.54)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผู้บริหารให้ความสำคัญกับการพัฒนาการให้บริการ ด้านสำรวจความคาดหวังของผู้รับบริการอย่างเป็นระบบ ด้านการวางแผนการพัฒนาการบริการ ด้านรักษาอาคารให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้านการจัดระเบียบการจราจรและที่จอดรถ ด้านจัดหาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านบุคลากรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ด้านบุคลากรมีทักษะความเชี่ยวชาญและด้านบุคลากรให้บริการด้วยความเสมอภาค ทั้งเก้าด้านอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
อนุพันธ์ พ. (2022). ระดับการบริหารจัดการตามหลักพุทธธรรมของโรงพยาบาลสนาม วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด . บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 7(1), 125–131. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/261044
บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (5 มกราคม 2564). โรงพยาบาลสนามกรณีผู้ป่วยโรคโควิด 19. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.dms.go.th

ผ่องพรรณ ธนา. (2560). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาคุณภาพการบริการ. วารสารการพยาบาลและดูแลสุขภาพ, 35(3), 15-21.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต. (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร: วัดราชโอรสาราม.

โรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด. (2564). ผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด. เอกสารอัดสำเนา.

วันวิสาข์ สนใจ. (2565). การบริหารจัดการตามหลักอิทธิบาท 4 สำหรับการให้บริการผู้ป่วยตามแนววิถีใหม่ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 215-225.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2563). แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการโรงพยาบาลเฉพาะกิจ COVID – 19. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://www. w2.med.cmu.ac.th/ha/wp-content/uploads/2021/01/HA

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560, สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565, จาก http://www.ratchakicha.soc.go.th//DATA/PDF/2560/A/040/1 PDF.

Henri, Fayo. (1949) General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitmam & Sons.

Taro Yamane. (1993). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd). New York: Harper and Row Publications.