การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้รูปแบบวิจัย 2 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีแจกแบบสอบถามผู้สูงอายุที่เข้าศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กับผู้นำท้องถิ่น, ผู้บริหารโรงเรียนผู้สูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ตัวแทนภาครัฐจากโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด
การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า สุขภาวะด้านกาย เป็นการพัฒนาร่างกายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในทางเป็นคุณประโยชน์เกื้อกูล ไม่เกิดโทษ รู้จักบริโภคปัจจัยสี่ให้มีคุณค่าสูงสุด ไม่บริโภคตามค่านิยม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ สุขภาวะด้านจิตใจ เป็นการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ดให้ได้รับความรู้ ได้ฝึกปฏิบัติด้านสมาธิ สวดมนต์เช้า-เย็น และก่อนนอน สุขภาวะด้านปัญญา เป็นการฝึกให้ผู้สูงอายุดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท ไม่ลุ่มหลงมัวเมา รู้เท่าทัน รู้สึกสบายใจ มีสติอยู่กับตัวเอง ไม่คิดมาก มีความรู้ความเข้าใจในตัวเอง สุขภาวะด้านสังคม เป็นความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น อันได้แก่ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนบ้าน
นวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ พบว่า สุขภาวะด้านร่างกาย ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ มีการไหว้พระสวดมนต์ การนั่งสมาธิ การเป็นอยู่ที่สอดคล้องเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อม การทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง สุขภาวะด้านจิตใจ มีกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม การฝึกจิตให้มีความอดทน การดำรงชีวิตแบบพุทธมุ่งสร้างสุขภาพใจให้ เข้มแข็ง การพัฒนาจิตใจให้มีอารมณ์ดี มีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความสุข สุขภาวะด้านปัญญา มีกิจกรรมการเรียนรู้คุณค่าและการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข การใช้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ในการแก้ปัญหาชีวิต สุขภาวะด้านสังคม มีกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับครอบครัว ชุมชน และสังคม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (19 ธันวาคม 2561). สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2564, จาก http://www.dop.go.th/th.
ถวิล ธาราโรจน์ และคณะ. (2541). จิตวิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพยฺวิสุทธิ์.
พระครูโสภณพุทธิศาสตร์และคณะ. (2562). โรงเรียนผู้สูงอายุ : การจัดการสุขภาวะ และสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(2), เมษายน.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร ดร. (อบอุ่น). (2558). การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนว พระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.).
เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์. (2550). พัฒนาการมนุษย์ (Human Development). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แม่ชีสุภาพ รักษ์ประสูติ. (2560). การศึกษาแนวทางการสร้างความสุขของผู้สูงอายุตามวิถีพุทธ. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 2(1), 74-85.
ยุวดี รอดจากภัย และคณะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาชุมชนและครอบครัว ต้นแบบเพื่อดูแลผู้สูงอายุ
แบบบูรณาการ. รายงานวิจัย. (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ).
สุพรต บุญอ่อน และคณะ (2560). โรงเรียนผู้สูงอายุ : การจัดการสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคกลาง. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์.