การบริหารตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เลย – หนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เลย – หนองบัวลำภู 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารตามหลัก พละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เลย – หนองบัวลำภู และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนารูปแบบตามหลักการบริหารตามหลัก พละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เลย – หนองบัวลำภู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย – หนองบัวลำภู จำนวน 325 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.829
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1) สภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย – หนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านวิชาการ รองลงมาคือด้านการบริหารงบประมาณ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านบริหารบุคคล
2) หลักธรรม พละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เลย – หนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านปัญญา รองลงมาคือด้านวิริยะ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านอนวัชชร
4) การบริหารตามหลัก พละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เลย – หนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ 9. ผู้บริหารวางตนเสมอต้นเสมอปลาย ร่วมรับรู้ปัญหาและร่วมแก้ไข รองลงมาคือ ข้อ 7. ผู้บริหารมีความรักความจริงใจต่อองค์กร และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อ 1. ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
ณิชชานันท์ รุจิรภัทรสิทธิ์. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัชช์ฑราณีย์ ศรีปานนาค. (2554). บทบาทของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์. การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัชราวลัย สังข์ศรี. (2561). หลักธรรมของพระพุทธเจ้ากับการบริหารการศึกษา. Veridian E-Journal, มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11(1), 1260-1270.
พงค์ศักดิ์ จิตสอาด.(2560). ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1-2. Veridian E-Veridian E- Journal,SilpakornUniversity. 10(1), 878-890.
วสิษฐ์พล รอบจังหวัด. (2564). บทบาทผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 8. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชพฤกษ์. 7(1), 226-240.
อำนาจ มนต์ศิลป์. (2563). แนวทางพุทธบูรณาการในการพัฒนาผู้นำสำหรับองค์กรการผลิตยานยนต์เอกชนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วารสาร มจร. นาครทรรศน์. 7(9), 359-374.
ภาษาอังกฤษ
Nitchanan Rujiraphatrasit. (2014). Roles of School Administrators under the Office of Secondary Education Service Area 5. Master of Education Thesis in Educational Administration Graduate College Silpakorn University.
Nattranee Sripannak. (2011). Roles of administrators of Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2. Thesis. Educational administration Graduate School Silpakorn University.
Patcharavalai Sangsri. (2018). Buddha’s Dhamma Principles and Educational Administration. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(1), 1260-1270.
Pongsak Chitsaard. (2017). A study of academic administration problems of schools under the area office. Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Education, Area 1-2. Veridian E-Veridian E- Journal,SilpakornUniversity. 10(1), 878-890.
Wasitpol, Provincial Rob. (2021). Administrative roles and performance of teachers in schools under the district office. Secondary education area 8. Journal of Humanities and Social Sciences Rajapruek University. 7(1), 226-240.
Amnat Monsilp. (2020). An integrated Buddhist approach in leadership development for automotive manufacturing organizations. Private sector in Amata Nakorn Industrial Estate. Journal of MCU Nakornthon. 7(9), 359-374.