ปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนใน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

Main Article Content

พระวัจน์กร กนฺตวณฺโณ (พิมล)

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นอย่างไร 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการส่งเสริมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย งานวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 397 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และ ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน


            ผลการวิจัยพบว่า


              1) ปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาท 4 อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการรณรงค์หาเสียง อยู่ในระดับมากและด้านนโยบายการเลือกตั้ง อยู่ในระดับปานกลาง  ตามลำดับ


              2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ด้านสื่อบุคคล ด้านการรณรงค์หาเสียง ด้านนโยบายการเลือกตั้ง ด้านการปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาท 4 กับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ ระดับ 0.05


              3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่า ประชาชนควรใช้สิทธิเลือกตั้งโดยเสรี เลือกคนที่ดีมีความสามารถไปเป็นตัวแทนของตน ก่อนตัดสินใจเลือกตั้ง ควรพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครให้รอบด้าน เช่น แนวคิด นโยบาย การพัฒนาชุมชน สังคม การเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างเสมอภาค มีการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กณิศ พรมนิกร. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ มีสิทธิเลือกตั้งในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง.วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). มิติใหม่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น: ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรวจากประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

ณิชาภา เหมะธุลิน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรศึกษา กรณี: ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ที่ 1 จังหวัดบึงกาฬ. สารนิพนธ์รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง.วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

ทัศนีย์ ปิยะเจริญเดช. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี : ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2559. สารนิพนธ์รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง.วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). การสร้างธรรมภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญชน.

พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี) และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารนิสิตวัง. 22(2), 1-12.

พระมหาวันเพ็ญ สารโท และคณะ. (2565). การนำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปกครองบริหารงานของกำนันผู้ใหญบ้าน อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

.2(1), 38-46.

พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายก : ศึกษาในช่วงเวลาพ.ศ. 2559. สารนิพนธ์รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง.วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง และวิเชียร ตันศิริคงคล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการไดรับคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้นำทางการเมืองของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (ม.ป.ป.). องค์การปกครองท้องถิ่น . สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม2566,

จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0% B8%84%E

%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8

%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99

%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%

B9%88%E0%B8%99.

อดิศักดิ์ จันทร์วิทัน.(2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สารนิพนธ์รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง.วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

อรัญญา เริงสำราญ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง.วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

Akrathiranai P. (2016). Factors affecting decision-making in the election of members of the House of Representatives. Nakhon Nayok Province: studied during the period B.E. 2016.

Master of Political Science Thesis Department of Political Communication. Political Communication College: Krirk University.

Chanwithan A. (2016). Factors affecting the decision to elect members of the House of Representatives of the people of Prachuap Khiri Khan Province. Master of Political Science

Thesis Department of Political Communication. Political Communication College: Krirk University.

Hemathulin N. (2013). Factors affecting the decision to elect members of the House of Representatives. Case study: Voters in Electoral District 1, Bueng Kan Province. Master of

Political Science Thesis Department of Political Communication. Political Communication College: Krirk University.

Mektrairat N. Local Administrative Organization. Retrieved on 8 January 2023, from http:// wiki.

kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C% E0%

B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3% E0% B8%

AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8% 97%E0

%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%

E0%B8%99.

Promnikorn K. (2012). Factors affecting decision making of people. Have the right to vote in the election of members of the House of Representatives in Roi Et Province. Master of

Political Science Thesis Department of Political Communication. Political Communication College: Krirk University.

P. Kowit Puangngam and Akkasaeng A. (2004). New dimensions of local government organization: local administrators who are directly elected by the people. Bangkok: Semaatham

Publishing House.

Piyacharoendet T. (2016). Factors affecting the decision to elect members of the House of Representatives, Phetchaburi Province: A study in the time period of 2016. Master of

Political Science Thesis Department of Political Communication. Political Communication College: Krirk University.

Phra Chinnakorn Suchitto (Thongdee) at al. (2020). Application of the 4 principles of Iddhipada in the work performance of personnel of local government organizations, Wang Noi

District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Wang Student Journal. 22(2), 1-12.

Phra Maha Wanphen Sartho et al. (2022). Applying the 4 principles of Itthipatha in the administration of the village headman, Na Klang District, Nong Bua Lamphu Province.

Political Science Journal Mahamakut Buddhist University. 2(1), 38-46.

Phothisawang P. and Tansirikongkol W. (2013). Factors affecting the election votes of political leaders in Thailand. research report. Faculty of Political Science and Law Burapha

University.

Roengsamran A. (2014). Factors affecting the election of members of the House of Representatives, Pathum Thani Province. Master of Political Science Thesis Department

of Political Communication. Political Communication College: Krirk University.

Uwanno B. (2001). Creating good governance in Thai society. Bangkok: Winyachan.