แรงจูงใจต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ของประชาชนในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2) เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 398 คน และผู้ให้ข้อมลูสำคัญ จำนวน 12 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับแรงจูงใจต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ด้านความสัมพันธ์ทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และด้านบุคลิกภาพของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่นคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
2) ผลการเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีแรงจูงใจต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) ข้อเสนอแนะ พบว่า คณะกรรมการเลือกตั้งควรส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้ระเบียบกฎหมายการเลือกตั้ง ควรสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังประชาธิปไตยในระดับครัวเรือน ควรสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลือกตั้ง ควรปรับปรุงวิธีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร และการประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวางขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
กิตติพัฒน์ คงมะกล่ำ. (2564). การตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดนครสวรรค์. มนุษย์สังคมสาร (มสส.). 9(3), 57-79.
เชาวณะ ไตรมาส. (2545). การเลือกตั้งแบบใหม่ : ทําไมคนไทยตองไปเลือกตั้ง. กรุงเทพมหานคร: สุขุมและบุตร.
ธโสธร ตูทองคํา. (2555). “กระบวนการการเลือกตั้ง” เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย. วิทยานิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค. (2558). โครงการวิจัยเรื่อง การประเมินผลการทำงานขององคกรอิสระตาม รัฐธรรมนูญ: คณะกรรมการการเลือกตั้ง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
พิษณุ บุญสอน กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การตัดสินใจของประชาชนต่อการเลือกผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่ตำบลโตนด อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารมจรพุทธปัญญา ปริทรรศน์. 6(3), 142-152.
พีระพงศ์ สุจริตพันธ. (2554). แรงจูงใจในการลงสมัครรับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนตำบล อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิชชาวารสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 30(2), 48-49.
สมบัติ จันทรวงศ. (2536). เลือกตั้ง วิกฤต ปญหา และทางออก. กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (พฤษภาคม 2562). ความรู้เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและวัฒนธรรมทางการเมือง. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.tambondonsai.go.th/datacenter/doc_download/a_100820_190723.pdf
สุภี นะที และสุริยะ ประภายสาธก. (2564). การตัดสินใจในการเลือกตั้งของประชาชนแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(10), 171-182.
อธิป มูลทรัพย์. (2555). การศึกษามูลเหตุจูงใจและความมุ่งหวังในการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อภิชาติ คุณวัฒนบัณฑิต. (2561). ปญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตรชาติของประเทศไทย. วิทยานิพนธศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุดม พิริยะสิงห์. (2538). การซื้อสิทธิ-ขายเสียง และผลจากการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิ-ขายเสียงในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม 2 กรกฎาคม 2538. รายงานการวิจัย. ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะมนุญ์ศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภาษาอังกฤษ
Kittipat Kongmaklam. (2021). The decision to elect the President of Nakhon Sawan Provincial Administrative Organization of Voters in Nakhon Sawan Province. Social Humanities (MSS.). 9(3), 57-79.
Chaowana quarter. (2002). New elections: Why Thai people have to go to the polls. Bangkok: Sukhum and Son.
Thasothon Tuthongkam. (2012). “Election Process” Teaching Document for the Institute and Thai political process. Master of Political Science Thesis, Graduate School: Sukhothai Thammathirat Open University.
Thiraphat Sereerangsan (2015). Research project on Assessment of the Performance of an Independent Organization According to the Constitution: The Election Commission. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.
Phitsanu Boonsorn Kampanat Wongwattanapong (2021). People’s Decisions on Leadership Selection. Local in Tanot Sub-district, Khiri Mat District, Sukhothai Province. Mahajorn Buddhapanya Review Journal. 6(3), 142-152.
Peerapong Sujaritphan. (2011). Motivation for candidates to be elected members of the Organization Council. Subdistrict Administration, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province. Transcendence Academic Journal. Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. 30(2), 48-49.
Sombat Chandrawong. (1993). Elections, Crisis, Problems and Solutions. Bangkok: Torch.
Office of the Election Commission. (May 2019). Knowledge about local government. and political culture. Retrieved on 18 May 2021, from https://www. tambondonsai.go.th/datacenter/doc_download/a_100820_19 0 723.pdf.
Supee Natee and Suriya Praphaisathok. (2021). Election decisions of the people of Ban Phan Thom Subdistrict, Phra Nakhon District, Bangkok. Journal of Corporate Management and Local Innovation. 7(10), 171-182.
Athip Munsub. (2012). A Study of Motives and Expectations for Membership in the Administrative Organization Council. Bua Ngam Subdistrict, Det Udom District, Ubon Ratchathani Province. Independent research. Graduate School: Ubon Ratchathani Rajabhat University.
Apichat Kunwatbundit (2018). Legal problems related to the preparation of the national strategy of Thailand. Master of Arts Thesis. Department of Public Law Faculty of Law: Thammasat University.
Udom Piriyasingh. (1995). Buying rights - selling votes. and the results of the campaign against buying rights - selling votes in the election Member of the House of Representatives Maha Sarakham Province, July 2, 1995. Research Report. Department of Political Science Faculty of Humanities and Social Sciences: Mahasarakham University.