ความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Main Article Content

เวชสุวรรณ อาจวิชัย

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) การได้มาซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแจกแบบสอบถามให้กับนักศึกษาบรรพชิต นักศึกษาคฤหัสถ์ บุคลากรฝ่ายสนับสนุน และอาจารย์ผู้สอนในสถาบัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด เก็บรวบรวมแบบสอบถามวิจัยได้ทั้งหมด จำนวน 108 ชุด จึงเพียงพอต่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ


 ผลการวิจัย พบว่า ความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.75) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับความคิดเห็นจากระดับมากที่สุดลงไปหาน้อยสุด พบว่า ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก (= 3.78) รองลงมาคือ ด้านการเรียนรู้จักที่จะคิดใคร่ครวญให้ดีก่อนที่จะลงมือทำหรือแสดงความเห็น อยู่ในระดับมาก (= 3.76) ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะความคิดแบบ “โปรแอคทีฟ” อยู่ในระดับมาก (= 3.75) ด้านการเข้าใจถึงฐานะการเป็นสมาชิกในครอบครัว/ชุมชน/สังคม หรือการเป็นพลเมืองที่ดี อยู่ในระดับมาก (= 3.74) ด้านการช่วยเหลือและดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระหรือส่งผลกระทบต่อสังคม อยู่ในระดับมาก (= 3.65) ตามลำดับ และผลการศึกษาเปรียบเทียบความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ว่าความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด จำแนกตามสภาพบุคคล อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพในสถาบัน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน พบว่า มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในสถานการณ์โควิด-19 ไม่แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานวิจัย โดยมีข้อเสนอแนะว่าทุกคนต้องตระหนักในความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และยังจำเป็นต้องรักษามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในระดับบุคคลโดยไม่ละเลยที่จะใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่คนหนาแน่น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ยังคงมีประโยชน์ในเชิงการป้องกันการแพร่เชื้อสายพันธุ์ใหม่ และการเสริมสร้างความตระหนักให้เป็นวิถีชีวิต

Article Details

How to Cite
อาจวิชัย ด. (2021). ความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 6(2), 91–100. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/254659
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโลก. (2563). รายงานการควบคุ้มโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถานการณ์โควิดในประเทศไทย. (2564). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2549).

Brown et al., (2009). Fire As an Engineering Tool of Early Modern Humans. Science 325, 859 (2009); DOI: 10.1126/science.1175028

Carroll, A.B., & Shabana, K.M. (2010). The Business Case for Corporate Social Responsibility: A review of concepts, research and Practice. International Journal of Management Reviews, 12(1), 85–105.

Commission of the European Communities. (2001).“GREEN PAPER”, Promoting a European framework for Corporate Social Responsibility, Brussels, 18.7.2001 COM(2001) 366 final.

Freeman, I., & Hasnaoui, A. (2011). The meaning of corporate social responsibility: The vision of four nations. Journal of Business Ethics, 100(3), 419–443.

Gatti, L., Vishwanath, B., Seele, P., & Cottier, B. (2019). Are we moving beyond voluntary CSR? Exploring theoretical and managerial implications of mandatory CSR resulting from the New Indian Companies Act. Journal of Business Ethics, 160(4), 961–972.

WHO. (2563). รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย – 12 มี.ค. 2563.

World Bank. (2004).รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย มิถุนายน 2563: ประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

World Bank. (2004). “COVID-19 Crisis: Through a Migration Lens.” Migration and Development Brief. Washington D.C., World Ban