The ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ไชยรัตน์ แตงเกตุ

บทคัดย่อ

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ส่งผลต่อสัมฤทธิผลการบริหารทุกองค์กร แม้แต่องค์การบริหารส่วนตำบลจำเป็นต้องมีผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล 2) ศึกษาสัมฤทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล 3) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล และ4) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 117 คน โดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐาน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง รวมทั้งสิ้น จำนวน 5 ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้าของเดนซิน


ผลการศึกษาพบว่า


          ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̄ = 4.07, S.D. = .60)  ได้แก่ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ ลงรองมาด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อมาด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ และด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ล้วนอยู่ในระดับ มาก ส่วน สัมฤทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในระดับ มาก (X̄ = 4.09, S.D. = .65) ได้แก่ ด้านส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ด้านการป้องกันแลบรรเทาสาธารณภัย รองลงมาด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น และด้านพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ทั้งหมดอยู่ในระดับมาก สำหรับ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ 1) ผู้นำควรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาใช้ในการพัฒนาองค์กร ที่พัฒนาไปพร้อมกับขนบธรรมเนียมและประเพณีดั้งเดิม 2) ผู้นำควรปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว 3) ผู้นำควรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ที่วางไว้ โดยแผนพัฒนาต้องมีความชัดเจน ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์จังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 4) ผู้นำควรติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลยุทธศาสตร์การพัฒนาตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนเป็นรูปธรรมแค่ไหน และ5) ผู้นำควรปรับตัวร่วมมือกันเป็นเครือข่ายภายในองค์กรและชุมชน ในการจัดการปัญหา ชุมชนอย่างยั่งยืน


          ดังนั้น แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้ 1) ผู้นำควรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาใช้ในการพัฒนาองค์กร 2) ผู้นำควรปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว 3) ผู้นำควรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ที่วางไว้ 4) ผู้นำควรติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลยุทธศาสตร์การพัฒนาตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน และ 5) ผู้นำควรปรับตัวร่วมมือกันเป็นเครือข่ายภายในองค์กรและชุมชน ในการจัดการปัญหาชุมชนอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
แตงเกตุ ไ. . (2021). The ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 6(2), 54–67. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/254394
บท
บทความวิจัย

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์, จักรกฤษณ์ โพดาพล, และวิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

กรีฑา แก้วประดิษฐ์ และระมัด โชชัย. (2558). แนวทางพัฒนาการดําเนินงานการส่งเสริมอาชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอําเภอเมืองกําแพงเพชร จังหวัดกําแพงเพชร. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) ปที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558: 192.

จิรนนท์ พุทธา จำลอง โพธิ์บุญ. (2561). การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561: 31.

จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 (ธันวาคม 2562): 4931.

เจริญ สุระประเสริฐ. (2559). ภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธวัชชัย ชวนสมบูรณ์. (2559). แนวทางการพัฒนาและปรังปรุงการบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา. กรุงเทพฯ: หน่วยบัญชาการทหารพัฒนากองบัญชาการกองทัพไทย.

นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยาพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎบีณฑิต, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2561). แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมอาชีพให้ชุมชนบ้านโพนไทร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2561): 926.

ผู้ให้สัมภาษณ์ 1. (10 เมษายน 2564). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก. (ไชยรัตน์ แตงเกตุ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้สัมภาษณ์ 2. (18 เมษายน 2564). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางสะพาน. (ไชยรัตน์ แตงเกตุ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้สัมภาษณ์ 3. (20 เมษายน 2564). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรายทอง. (ไชยรัตน์ แตงเกตุ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้สัมภาษณ์ 4. (25 เมษายน 2564). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลช้างแรก. (ไชยรัตน์ แตงเกตุ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้สัมภาษณ์ 5. (27 เมษายน 2564). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยราช. (ไชยรัตน์ แตงเกตุ, ผู้สัมภาษณ์)

พระสุรศักดิ์ มหาปุญฺโญ (จันทบัตร). (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตําบลขนาดกลางในเขตพื้นที่ตําบลตะเคียนเลื่อนอําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิจิตร ถิรจิตฺโต (สุนทราวัตร). (2555). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตามทัศนะของประชาชนตำบลไร่หลักทอง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รักเกียรติ หงษ์ทอง. (2558). ภาวะผู้นำ. เพชรบุรี : สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก 16 เมษายน 2562. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562.

สุรัสวดี หุ่นพยนต์ อำพา แก้วกำกง และวทัญญู ใจบริสุทธิ์. (2562). ถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย: ศึกษากรณีตัวอย่างสถานศึกษาต้นแบบ 3 แห่ง. สถาบันพระปกเกล้า กันยายน - ธันวาคม 2562: 28.

อัญชลี กองแก้ว. (2561). การพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุงจังหวัดชลบุรี. สาระนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

LeSourd, S. J. (1990). “Principals' Attitudes toward Visionary Leadership,” The High School Journal. 73 (2) : 103 - 110.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York. Harper and Row Publications.

Zaccaro, S. J. and Banks, D. (2004). “Leader Visioning and Adaptability : Bridging the Gap between Research and Practice on Deveoping the Ability to Manage Change,” Human Resource Management. 43 (4) : 367 - 380.