การทำแท้งในมุมมองพุทธจริยศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร้อยเอ็ด เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชีวิตหรือการดำรงอยู่เป็นคุณค่าสำคัญของมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่เคร่งครัดศาสนาหรือได้รับการปลูกฝังอบรมมาทางศาสนาส่วนมากเห็นว่ามนุษย์ไม่ควรทําลายชีวิตกัน เพราะคนและสัตว์ทั้งหลายล้วนรักตัวเอง รักสุข เกลียดทุกข์ กลัวความตายทั้งนั้น ดังนั้นจึงไม่ควรทำลายชีวิตผู้อื่น เพราะการทำลายชีวิตเป็นความโหดร้ายทารุณ เจ็บปวดและทรมาน คนส่วนหนึ่งเห็นว่าควรรักษาชีวิตของมารดาไว้ เพราะเข้าใจความรู้สึกของสตรีที่ถูกข่มขืนและตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์ และเพื่อป้องกันคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีของตัวอ่อนที่จะพัฒนาเป็นมนุษย์ในอนาคต เช่น หากปล่อยให้เกิดแล้วจะเป็นคนพิการ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำลายตัวอ่อนในครรภ์นั้นแม้จะเกิดขึ้นด้วยความลำบากใจก็ตาม พระพุทธศาสนาแสดงองค์ประกอบของการฆ่าที่นับว่าสำเร็จไว้ 5 อย่าง ได้แก่ (1) สิ่งที่จะถูกฆ่านั้นมีชีวิตคือมีลมหายใจ (สัตว์และมนุษย์) (2) รู้ว่าสิ่งนั้นมีชีวิต (3) มีความตั้งใจที่จะฆ่า (4) พยายามฆ่า (5) สิ่งมีชีวิตนั้นตายด้วยความพยายามนั้น สำหรับการแก้ไขปัญหาการทำแท้งที่ดีที่สุดคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยการปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่ยังไม่พร้อมอันเป็นสาเหตุของการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ หากเลยจุดนี้มาจำเป็นต้องตัดสินและแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัดสินใจและทำได้ยากกว่า หากมีการทำลายตัวอ่อนเกิดขึ้นไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต ส่วนโทษจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกำลังของเจตนา
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2536). การทำแท้งตัดสินใจอย่างไร: ชีวิตเริ่มต้นเมื่อไร การทำแท้งในทัศนะของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2537). กฎหมายการทําแท้ง: ข้อโต้แย้งที่ยังไม่ยุติ. กรุงเทพมหานคร: เจนเดอร์ เพรส.
สภาประชากร. (2524). การทําแท้งในประเทศไทย: วรรณกรรมปริทัศน์. กรุงเทพมหานคร: โพสต์ พับลิชชิ่ง จํากัด.
สมภาร พรมทา. (2535). พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์พุทธชาด.
สุวัฒน์ จันทรจํานง. (2525). การทําแท้งกับปัญหาการแพทย์และสังคม. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
วิลาสินี พนานครทรัพย์. (2554). การทำแท้ง: มุมมองที่แตกต่าง. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน, 2564) : 100.
พระสมุทร ถาวรธมฺโม. (2539). การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาจริยธรรมเรื่องการทำแท้ง: ทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทกับกฎหมายการทำแท้ง. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุรินทร์ อินฺทวํโส. (2555). การทำแท้งในสังคมไทย: ปัญหาและทางออกตามทัศนะของพระพุทธศาสนา. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Frohock, Fred M. (1983). Abortion: A Case Study in Law and Morals. Westport: Greenwood Press.