การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม 5W1H รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใน รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเทคนิคการใช้คาถาม 5W1H โดยให้ นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนยางคำพิทยาคม จำนวน 20 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดย ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ผู้วิจัย ได้กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนตามวงจรการปฏิบัติการ PAOR เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL- Plus ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม 5W1H จำนวน 9 แผน ใช้เวลาสอน 9 ชั่วโมง 2) แบบบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบบันทึกเหตุการณ์การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 5) แบบทดสอบท้ายวงจร 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะเชิงเนื้อหาสรุปความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเทคนิคการใช้คาถาม 5W1H รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามีนักเรียน ผ่านเกณฑ์ จำนวน 16 คน จากนักเรียนทั้งหมด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 และนักเรียน จำนวน 20 มีคะแนน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยเฉลี่ย 23.05 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 76.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนดไว้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดวิเคราะห.์ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซสมีเดีย.
รุ่งระวี สาเหล็ม.(2556). การใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นในการสอนภาษาอังกฤษด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามแบบ 5W1H ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและการเขียนสรุปความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ทักษิณ.
วิไลลักษณ์ วงศ์วัจนสุนทร.(2551). การใช้เทคนิค แบบ เค ดับเบิ้ลยู แอล พลัส เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันทรายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์ประเมินและวิจัยเพื่อการพัฒนาฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ. (2553). รายงานผลการประเมินความสามารถ ด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ปีการศึกษา 2553. จาก http://www.edba.in.th
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปในศตวรรษที่สอง ด้วยการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน.
สุวิทย์ มูลคา. (2548). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
วชิระ โคตะโน. (2555). การจัดกิจกรรมการเรียนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ แบบ เค ดับเบิ้ลยู แอล พลัส วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิไลลักษณ์ วงศ์วัจนสุนทร. (2551). การใช้เทคนิค แบบ เค ดับเบิ้ลยู แอล พลัส เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันทรายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bloom, B.S. (1957). Taxonomy of Education Objective Handbook 1 : Cognitive Domain. New York : David Mcakay
Carr, E and Ogle, D. (1987). K-W-L-Plus: A Strategies for Comprehension and Summarization. Journal of Reading, 30, 626-630.
Kemmis, S., and McTaggart, R. (1990). The action research planner. Geelong: Deakin University Press.