การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานร่วมกับภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีตำบล ; กรณีศึกษาจังหวัดยโสธร

Main Article Content

พรสวรรค์ สุตะคาน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานร่วมกับภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีตำบล ; กรณีศึกษาจังหวัดยโสธร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานร่วมกับภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีตำบลกรณีศึกษาจังหวัดยโสธรมีลักษณะเป็นอย่างไร 2)เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานร่วมกับภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีตำบลกรณีศึกษาจังหวัดยโสธรมีความแต่ต่างกันหรือไม่อย่างไร จำแนกตามเพศ สถานภาพ การศึกษา และอายุ คือ ประชาชนที่อาศัยในจังหวัดยโสธร และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จำนวน 310 คน (Yamane, 1973)  โดยการใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test (ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


 ผลการศึกษาพบว่า


                  1) การศึกษาระดับด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.66 (SD. .57) และการศึกษาระดับด้านภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีก็อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 (SD. .52) ตามลำดับ ถือได้ว่าค่าเฉลี่ยทั้ง 9 ตัวแปรอยู่ในระดับมาก


                  2) การศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานร่วมกับภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีตำบล; กรณีศึกษาจังหวัดยโสธร ที่มีเพศแตกต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกับด้านภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีตำบลไม่แตกต่างกัน โดยมีผลทดสอบ t = -.010 และโดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ .992 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีตำบล โดยมีผลทดสอบ t = - 0.005 และมีค่านัยสำคัญทางสถิติต่ำกว่า .05 ส่วนประชาชนที่มีสถานภาพ วุฒิการศึกษา และอายุ ที่แตกต่างกันนั้น พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้ง 4 ด้าน กับด้านภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีตำบล ทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
สุตะคาน พ. (2021). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานร่วมกับภาวะผู้นำนายกเทศมนตรีตำบล ; กรณีศึกษาจังหวัดยโสธร. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 5(2), 31–45. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/248926
บท
บทความวิจัย

References

กตัญญู แก้วหานาม และพิมพ์ลิขิต แก้วหานาม. (2558). ปัญหาของกระบวนการในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานเทศบาลเมืองบัวขาวโดยภาคประชาชน. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 9(3), 71-84.

เข็มเพชร ศรีสมพาน. (2558). กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของกรมมาตรฐาน และมาตรวิทยา สปป.ลาว. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 8(2), 12-22.

ชูชาติ กีฬาแปง. (2539). ทัศนะของผู้นำท้องถิ่นต่อองค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้: ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2545). การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่นเปรียบเทียบ : อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศิริพงษ์ นิมมา. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหินลาด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2554). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สุธีญา พรหมมาก. (2554). ภาวะผู้นํากับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิริพงษ์ ปานจันทร์. (2556). ประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สําหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.Thirdeditio. Newyork: Harper and. Row Publication.